เป็นเหตุการณ์ดราม่าที่สะเทือนวงการสตรีมเมอร์กันเลยทีเดียวล่ะครับ เรื่องราวเป็นอย่างไร? เดี๋ยวเราจะมาสรุปให้อ่านกันแบบง่าย ๆ ในบทความนี้ครับ…
1. ก่อนอื่นจะอธิบายเกี่ยวกับฝ่าสตรีมเมอร์กันก่อน โดยสตรีมเมอร์ที่มีประเด็นนี้เป็นผู้หญิงครับ โดยเธอจะเล่นเกม ROV และ Mine Craft เป็นหลัก
2. ปกติเวลาที่สตรีมเมอร์เขาสตรีมเล่นเกมเนี่ย (บางส่วน) จะมีการแปะเบอร์โทรศัพท์, Paypal, หรือ บัญชีธนาคาร เอาไว้ เพื่อเป็นช่องทางในการโดเนท หรือบริจาคเงินให้ แล้วแต่ความพึงพอใจของแฟนคลับแต่ละคน
ซึ่งหลังจากที่มีการโดเนท ก็จะมีชื่ออันดับของแฟนคลับขึ้นอยู่บนทำเนียบ หรือ จะมีการพิมพ์ข้อความเพื่อให้โชว์อยู่บนหน้าสตรีม เป็นต้น
3. ทีนี้สตรีมเมอร์สาวคนนี้ ก็ได้รับเงินโดเนทมาจากเด็กมัธยมต้น อายุประมาณ 10 ขวบต้น ๆ ที่เป็นแฟนคลับของเธอเป็นจำนวนเงินหลักหมื่นบาท โดยโดเนทมาให้หลายครั้ง รวมแล้วเป็นจำนวน 30,000 – 40,000 บาท
4. สตรีมเมอร์สาวอ้างว่าพยายามบอกน้องแล้วว่าไม่ต้องโดเนทมา แต่ก็ห้ามไม่ได้ สุดท้ายน้องก็โดเนทมาอยู่ดี
5. ฝ่ายพ่อแม่ของเด็กที่โอนเงินมา พอทราบว่าลูกเอาเงินไปให้สตรีมเมอร์สาวเป็นจำนวน 30,000 – 40,000 บาท ก็เลยไปแจ้งความกับสตรีมเมอร์ในข้อหาฉ้อโกง จนทำให้ทางธนาคารอายัดบัญชีของสตรีมเมอร์สาว เป็นเหตุให้เธอไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้จากธนาคารได้
6. สตรีมเมอร์สาวก็เลยอัดคลิปวิดีโอออกมาเพื่อหวังว่าจะติดต่อกับเด็กคนที่โดเนทเงินมาให้เธอ และฝ่ายพ่อแม่เด็ก เนื่องจากว่าไม่สามารถติดต่อทางไหนได้เลย (โทรไปก็ไม่รับ) ว่ายังไม่ได้ใช้เงินที่โดเนทมา พร้อมคืนเงินให้ทุกบาท ขอให้ถอนฟ้อง เพราะเธอเดือดร้อนมากจากการที่ถอนเงินออกมาใช้จากธนาคารไม่ได้
พร้อมทั้งแสดงหลักฐานแชทให้ดูว่าไม่ได้ฉ้อโกงหลอกเอาเงินจากเด็ก แต่เป็นเด็กที่โดเนทมาให้เอง และพยายามห้ามแล้ว
7. พอเรื่องราวกลายเป็นไวรัล ได้ออกข่าว ทางด้านทนายรณรงค์ แก้วเพชร ก็ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีนี้ว่า หากน้องเขาพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ฉ้อโกงเงินจากเด็กจริง พ่อแม่เด็ก อาจโดนข้อหาแจ้งความเท็จ รวมไปถึงตำรวจที่ไปอายัดบัญชีก็อาจโดนฟ้องกลับได้ เนื่องจากไม่ได้มีการตรวจสอบที่ดีซะก่อน
ส่วนเด็กชายที่โอนเงินให้ก็ลอยตัวไม่มีความผิด เพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะ
8. แต่วิธีในการจัดการเรื่องนี้มีกฎหมายหนึ่งที่ควบคุมเอาไว้อยู่ คือการที่เด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไปทำธุรกรรมใด ๆ ก็ตาม ผู้ปกครองสามารถบอกล้างได้ (เพิกถอนการทำนิติกรรมนั้น ๆ)
แต่การบอกล้างเนี่ย ไม่ใช่ว่าต้องไปแจ้งความเรื่องฉ้อโกง เพราะมันผิดกฎหมาย และอาจเป็นเหตุให้โดนฟ้องกลับได้
9. ทนายรณรงค์ ก็เลยฝากไปถึงวงการสตรีมเมอร์ทั้งหลาย ว่าหากได้รับเงินโดเนทมาจากเด็ก ห้ามเอาไปใช้ และอย่าหากินกับเด็ก เพราะในประเทศไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองเด็ก กับสื่อดิจิตัลเหมือนกับต่างประเทศ
10. ฝ่ายสตรีมเมอร์สาวก็ยังยืนยันความบริสุทธิ์ และพร้อมที่จะคืนเงินให้พ่อแม่ของเด็กที่เป็นประเด็น พร้อมกลับไปสตรีมเกมเหมือนเดิมโดยที่จะไม่แปะช่องทางให้โดเนทอีกต่อไปแล้ว
เรียบเรียงโดย #เหมียวหง่าว