ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ในเวลา 16.30 น. หรือเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ประเทศไทยเข้าสู่สถานการณ์การทำรัฐประหารอรีกครั้ง ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย
หลังจากครั้งก่อนหน้าคือเมื่อ 19 กันยายน 2549 ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
โดยได้โค่นล้มนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ พร้อมทั้งประกาศให้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
โดยการทำรัฐประหารครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2556 เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และอิทธิพลของทักษิณ ชินวัตร โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณได้ตั้งกลุ่ม กปปส. เพื่อรวมตัวคัดค้าน พรบ. ฉบับดังกล่าว
หลังจากนั้น คสช. หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ผู้ทำการรัฐประหาร ก็เข้ามามีบทบาทในการเมืองของไทย โดยกล่าวอ้างว่าจะเข้ามาจัดการเรื่องการทุจริตฉ้อโกงของนักการเมือง
แต่ทว่า เกือบทศวรรษที่ผ่านมา ประชาชนก็คงได้ตระหนักแล้วว่า การทำรัฐหารของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ คสช. ส่งผลต่อสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของไทยอย่างไรกันบ้าง…
เรียบเรียงโดย #เหมียวมาร์ชเมลโล่
ที่มา: bangkokbiznews, ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, สยามรัฐ