สำหรับคนที่มีโอกาสอ่านข้อกฎหมาย หลายๆ คนอาจสังเกตกันมาบ้างว่ากฎหมายในหลายๆ ประเทศนั้น มักจะมีรูปแบบการเขียนเฉพาะทางที่อ่านค่อนข้างยากต่างจากงานเขียนทั่วไป
ซึ่งตามปกติเรามักจะถูกบอกว่าการเขียนแบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ตัวกฎหมายที่ซับซ้อนมีความชัดเจน ยากแก่การหาช่องโหว่มาใช้
แต่จากงานวิจัยใหม่ของสองนักวิจัยจาก MIT จริงๆ แล้วที่ข้อกฎหมายมักจะอ่านยากอาจไม่ใช่เพราะกฎหมายที่ซับซ้อน แต่เป็นเพราะ “การเขียนไม่ดี” ก็ได้
อ้างอิงจากงานวิจัยกฎหมายส่วนมาก (อย่างน้อยๆ ก็ของสหรัฐฯ) มักจะมีปัญหา ชอบใช้ประโยคความซ้อนมากเกินจำเป็น แทนที่จะแยกออกมาเป็นประโยคความเดียว
ซึ่งทำให้เงื่อนไขในสัญญาหรือกฎหมาย มักจะมากองรวมกันตรงกลางประโยค สร้างประโยคที่ยาวมากเกินความจำเป็นขึ้น
แน่นอนว่างานวิจัยเช่นนี้อาจจะไม่ได้สะท้อนถึงการเขียนข้อกฎหมายในทุกประเทศ แต่มันก็ทำให้เกิดคำถามได้เป็นอย่างดีเช่นกันว่า
มันจะดีกว่าไหมหากเราจะสามารถทำให้กฎหมายกระชับและเข้าใจง่ายผู้คนจะได้เข้าถึงกฎหมายซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการใช้ชีวิตมากขึ้น
และด้วยลักษณะของงานวิจัยที่ตรงกับหัวข้อที่ว่า “ทำให้หัวเราะในตอนที่ได้ยินครั้งแรก แต่ก็ทำให้ฉุกคิดในภายหลัง” นี้เอง งานวิจัยนี้จึงได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาวรรณกรรมประจำปีนี้ไปนั่นเอง
ที่มา
www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0010027722000580
news.mit.edu/2022/mit-cognitive-scientists-win-ig-nobel-shedding-light-legalese-0916