จะเกิดอะไรขึ้นเวลาเรารู้สึก “ปิ๊ง” ใครสักคน? นี่คือคำถามที่นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบกันมาเป็นเวลานาน เพราะนอกจากเรื่องหัวใจเต้นแรง ร่างกายของเรายังมักมีการตอบโต้กับสถานการณ์นี้หลากหลายแบบเอามากๆ
อย่างล่าสุดนี้เอง ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยไลเดนในเนเธอร์แลนด์ ก็เพิ่งจะได้รับรางวัลอิกโนเบล (ร่างวัลล้อเลียนรางวัลโนเบลที่มักมอบให้วิจัยแปลกๆ) จากพบงานการค้นพบว่า
คนที่รู้สึก “ปิ๊งกัน” ในการพบกันครั้งแรกอย่างในนัดบอดนั้น มักจะมีอัตราการเต้นของหัวใจ (และลักษณะการแสดงออกทางกายบางอย่าง) ตรงกัน
โดยพวกเขาพบเรื่องราวนี้ในการทดลองให้อาสาสมัครชายหญิงอายุตั้งแต่ 18-37 ปีจำนวน 140 คน ทำความรู้จักกันโดยไม่ใช้คำพูดใน “ห้องออกเดท” ที่นักวิจัยเตรียมให้ ในขณะที่วัดค่าต่างๆ ไปด้วย และพบว่า
ความเชื่อที่ว่าคนที่ทำท่าทางเลียนแบบภาษากายกันมักจะชอบกันนั้น อาจไม่เป็นจริงเสมอไป
กลับกันอาสาสมัครที่ใช้คะแนนความชอบกันและกันในระดับสูงนั้น ส่วนใหญ่จะมีการแสดงออกของร่างกายที่เห็นได้ไม่ชัดเจนอย่าง “จังหวะการเต้นของหัวใจ” หรือ “การเหงื่อออก” พร้อมกันแทน
แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามนักวิจัยก็ระบุไว้ด้วยว่า นี่ไม่ได้หมายความว่าการที่ คนที่เราไปพบ ยิ้ม หรือหัวเราะ ไปพร้อมกับเราจะไม่ได้เป็นสัญญาณที่ดีเลย
เพียงแต่ข้อมูลทางสรีรวิทยาอื่นๆ อาจจะเป็นตัวตัดสินที่ชัดเจนกว่าก็เท่านั้น
ที่มา
www.nature.com/articles/s41562-021-01197-3
www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-10153011/Sweating-sync-indicates-attraction-date-study-finds.html
improbable.com/ig/winners/#ig2022