สำหรับมนุษย์อย่างเราๆ “ตับ” ถือเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะด้วยความที่มันมีอยู่เพียงชิ้นเดียว มันจึงคงจะไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ ถ้าเราจะเสียมันไป
ดังนั้น นี่จึงอาจจะเป็นข่าวดีของหลายๆ คนเลยก็ได้
เพราะล่าสุดนี้เองทีมวิจัยจากศูนย์วิจัยตับพิตส์เบิร์กก็เพิ่งจะค้นพบยาตัวใหม่ที่จะช่วยให้ตับซ่อมแซมความเสียหายตัวเองได้ ถึงขั้นที่ว่าต่อให้บางส่วนหายไปยานี้ก็สามารถงอกตับขึ้นมาได้ใหม่เลย
อ้างอิงจากคุณ Satdarshan Singh Monga ผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยตับพิตส์เบิร์ก เดิมทีแล้วตับของมนุษย์ก็ถือว่าเป็นอวัยวะที่มีความสามารถในการรักษาตัวสูงอยู่แล้ว (งอกส่วนที่ถูกตัดใหม่ได้แม้ทำงานได้ไม่เท่าเดิม)
ดังนั้นพวกเขาจึงศึกษาการรักษาตัวของมันดูและพบว่า ตับของเราจะมีการใช้โปรตีน Wnt ในการรักษาตัว ภายใต้การควบคุมของยีนชื่อ Wnt2 และ Wnt9b ซึ่งอยู่ในเซลล์บุผนังหลอดเลือดตับ
นั่นหมายความว่า หากเราการกำจัดยีน Wnt2 และ Wnt9b ออกไป มันจะทำให้ยีนอื่นๆ ในตับเริ่มกระบวนการรักษาตัว/งอกส่วนที่หายไปขึ้นใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง
เมื่อเห็นเช่นนั้นทีมวิจัยจึงลองผลิตยาแอนติบอดีชื่อ FL6.13 ซึ่งทำหน้าที่คล้ายโปรตีน Wnt มาฉีดให้หนูทดลองที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้ไม่มียีน Wnt2 กับ Wnt9b ดู
และพบว่ายาดังกล่าวจะสามารถฟื้นฟูการแบ่งเซลล์ตับรักษาบาดแผลหรือตับที่หายไปได้แบบแทบจะสมบูรณ์
แถมยังช่วยรักษาตับที่เสียหายจาก พิษไทลินอล ไขมัน หรือแอลกอฮอล์ได้ด้วย
ดังนั้นทีมวิจัยจึงหวังเป็นอย่างมากว่าในอนาคตอันใกล้นี้ วิธีการของพวกเขาจะสามารถถูกนำไปผลิตเป็นยาเพื่อใช้กับคนได้ (เช่นหยุดการทำงานของยีนชั่วคราวและเสริมโปรตีน Wnt พร้อมกัน) โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
เพราะหากวันนั้นมาถึงจริงๆ เราอาจจะได้รับการรักษาตับแบบใหม่ ที่ทำได้ง่าย อาจไม่ต้องผ่าตัดด้วยซ้ำ แถมยังช่วยลดความจำเป็นของการปลูกถ่ายตับได้เป็นอย่างดีเลยนั่นเอง
ที่มา
linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S2666379122003032
theconversation.com/helping-the-liver-regenerate-itself-could-give-patients-with-end-stage-liver-disease-a-treatment-option-besides-waiting-for-a-transplant-191826