เชื่อว่าคงมีหลายๆ คนเลือกที่จะอาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น เพราะการอยู่คนเดียวนั้นมันช่างทำอะไรก็สบาย ไม่ต้องกังวลถึงคนอื่นมากนัก และมีอิสระสูงจริงๆ
แต่ก็เช่นเดียวกับหลายๆ สิ่งในโลก การอยู่คนเดียวเองก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นกัน อย่างล่าสุดนี้เองนักวิทยาศาสตร์ก็เพิ่งจะพบเลยว่า การอยู่คนเดียวนั้นเพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้กว่า 40% เลย
โดยนักวิทยาศาสตร์ทราบความจริงนี้จากการทำการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis) กับงานวิจัย 7 ชิ้น รวมอาสาสมัคร 123,859 คน เพื่อหาความเกี่ยวข้องระหว่างการอยู่คนเดียวกับความเสี่ยงโรคซึมเศร้า และพบว่า
เมื่อเทียบกับคนที่อยู่ร่วมกับผู้อื่น คนที่การอยู่คนเดียว จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นราวๆ 42% ซึ่งส่วนมากมีปัจจัยสำคัญมาจาก “ความเหงา” เป็นหลัก
ปัญหาคือในช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่นด้วยสถานการณ์โลกอย่างโควิด-19 หรือค่านิยมในปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากขึ้นได้เริ่มที่จะต้องอยู่คนเดียวไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่
และหลายๆ คนในนี้ก็รายงานว่าตัวเองเผชิญกับปัญหาความเหงาด้วย
นี่นับเป็นเรื่องน่าเห็นห่วงเลยเพราะภาวะซึมเศร้าได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่าสามารถทำให้คุณภาพชีวิตคนโดยรวมต่ำลงได้ แถมยังเป็นหนึ่งในสาเหตุของความพิการ โรคร้ายหลายๆ ชนิด หรือแม้แต่การจบชีวิตก่อนวัยอันควรด้วย
แต่มันก็ยังคงมีข่าวดีเช่นกัน เพราะจากในการวิจัยหากมีการแทรกแซงทางจิตวิทยา หรือการรักษาทางเภสัชวิทยาที่ดี เราก็จะสามารถลดความเหงา ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม หรือภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
และในปัจจุบัน เราก็มีวิธีการรักษาใหม่ๆ กำลังอยู่ในระหว่างการทดลองเป็นจำนวนมากด้วย
ดังนั้น มันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าในอนาคตปัญหาโรคซึมเศร้าจากการอยู่คนเดียวก็อาจจะกลายเป็นอะไรที่ไม่ร้ายแรงและควบคุมได้ง่ายขึ้น กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็ได้
ที่มา
www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyt.2022.954857/full
https://www.psychologytoday.com/us/blog/finding-new-home/202211/living-alone-increases-risk-depression-more-40