เชื่อว่าสำหรับหลายๆ คนในปัจจุบัน สิ่งที่เราจะทำเป็นอย่างแรกๆ เวลาที่เบื่อก็คงจะไม่พ้นการหยิบโทรศัพท์ขึ้นมา “เล่นโซเชียลมีเดีย” แน่ๆ และเรื่องแบบนี้ หากไม่รบกวนใครมันก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไรด้วย
แต่ล่าสุดนี้เองเราก็เพิ่งจะมีงานวิจัยที่ออกมาบอกเช่นกันว่า การเล่นโซเชียลทุกครั้งเวลาเบื่อมันก็อาจจะทำให้เราพลาดอะไรหลายๆ อย่างได้เช่นกัน เพราะมันทำให้เราพลาดความเบื่อที่เรียกว่า “Profound boredom” นั่นเอง
อ้างอิงจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยบาธและวิทยาลัยทรินิตี ความเบื่อของคนเรามักแบ่งได้เป็นสองประเภทหรือ “Superficial boredom” และ “Profound boredom”
– Superficial boredom หรือ “ความเบื่อแบบผิวเผิน” เป็นสภาวะความเบื่อที่พบบ่อยที่สุด อย่างที่เรามักรู้สึกเวลารอคน รอรถ หรือรอเลิกงานในช่วง 10 นาทีสุดท้าย
– ส่วน Profound boredom หรือ “ความเบื่อแบบลึกซึ้ง” จะเกิดจากการใช้เวลานานๆ กับความเบื่อ หรือสันโดษ ซึ่งในช่วงเวลานี้คนจะเริ่มคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกของตนเอง หรือการดำรงอยู่ของพวกเขา
และมันก็เป็นความเบื่อแบบลึกซึ้งนี้เอง ซึ่งนักปรัชญาชื่อดังชาวเยอรมันอย่าง Martin Heidegger เคยกล่าวไว้ว่าสามารถปูทางไปสู่ การเกิดความคิดและกิจกรรมที่สร้างสรรค์มากขึ้นได้
ปัญหาคือนักวิจัยได้พบว่าการใช้โซเชียลมีเดียนั้น มักจะไปหยุดความเบื่อของผู้คนไว้ตั้งแต่ช่วงความเบื่อแบบผิวเผิน ในขณะที่ดูดเวลาและพลังงานการใช้ชีวิตของพวกเขาไปพร้อมๆ กัน
มันจึงอาจไปขัดขวางไม่ให้ผู้คนก้าวไปสู่สถานะของความเบื่อหน่ายแบบลึกซึ้ง ที่พวกเขาอาจค้นพบความสนใจใหม่ๆ ได้นั่นเอง
ที่มา
journals.sagepub.com/doi/10.1177/14705931221138617
www.bath.ac.uk/announcements/social-media-may-prevent-users-from-reaping-creative-rewards-of-profound-boredom-new-research/