เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ทำให้นักดาราศาสตร์กำลังปวดหัวกันเลยครับ
เมื่อล่าสุดนี้เองหอสังเกตการณ์ ALMA ในประเทศชิลี ได้ค้นพบหลุมดำมวลยิ่งยวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 1 พันล้านเท่า ที่ใจกลางกาแล็กซี COS-87259
แต่ปัญหาคือจากการวิเคราะห์ข้อมูล เจ้าหลุมดำที่ใหญ่โตขนาดนี้ มันกลับเกิดขึ้นเพียงแค่ราวๆ 750 ล้านปีหลังจากเกิดบิ๊กแบง หรือแค่ 5% ของอายุจักรวาลทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งทำให้ตัวตนของมันไม่น่าจะเป็นไปได้เลย
นั่นเพราะตามปกติหลุมดำขนาดใหญ่นั้น ก็มักจะต้องเกิดขึ้นจากการของดับลงของดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย
แต่ในจักรวาลยุคแรกๆ ที่หลายอย่างยังคงปลิวออกไปจากแรงระเบิด ฝุ่นในอวกาศก็ไม่น่าจะสามารถรวมเป็นดาวฤกษ์ที่ใหญ่แบบนั้นได้เลย (นี่ยังไม่ต้องนับรวมเวลาที่ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่ว่าจะสิ้นอายุขัยอีกนะ)
ดังนั้น ตัวตนของหลุมดำนี้ จึงเป็นดั่งอีกหลักฐานที่บอกเลยว่าการกำเนิดของจักรวาลนั้น มันอาจจะต่างไปจากที่เราเคยคิดไว้ก็ได้
และหากเรามองว่าเมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์ก็เพิ่งจะพบกาแล็กซีที่ใหญ่เกินกว่าจะเกิดขึ้นในจักรวาลยุคแรกๆ เช่นกัน
(อ่านข่าวนี้ได้ที่นี่: www.facebook.com/CatDumbNews/posts/6197943356915068)
มันก็ไม่แน่นะว่าเราอาจจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการทฤษฎีกำเนิดจักรวาลในเร็วๆ นี้เลยก็เป็นได้
ที่มา
www.livescience.com/rare-black-hole-one-billion-times-the-mass-of-the-sun-could-upend-our-understanding-of-galaxy-formation
www.sciencedaily.com/releases/2023/02/230224135116.htm
www.transcontinentaltimes.com/researchers-black-hole-87259-galaxy/