จากกรณีที่มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า (Wildlife Friends Foundation Thailand: WFFT) ได้ออกมาเผยแพร่ภาพ “ช้างหลังยุบ” จนกลายเป็นกระแสพูดคุยในช่วงก่อน
ล่าสุดนี้เองเราก็ดูจะมีข้อมูลอีกด้านจากสัตวแพทย์อันน่าสนใจที่ดูจะเห็นต่างกับมูลนิธิออกมาให้เห็นบ้างแล้วครับ
(อ่านรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่: www.facebook.com/CatDumbNews/posts/6248663238509746)
นั่นเพราะเมื่อช่วงคืนที่ผ่านมาผู้ใช้เฟสบุ๊ก Pakkanut Bansiddhi จากคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เพิ่งจะออกมาให้ข้อมูลเลยว่า
– เราเคยมีการวิจัยว่าช้างบรรทุกน้ำหนักได้ 15% ของน้ำหนักตัวโดยไม่ทำให้พบรูปแบบการเดินผิดปกติ
– ซึ่งหากคำนวณน้ำหนักที่ช้างต้องบรรทุก แหย่ง+วัสดุรองแหย่ง+นักท่องเที่ยว 2 คน น้ำหนักที่ออกมาก็ยังแค่ 225 กิโลดรัม 7.5 % ของน้ำหนักตัวช้างเท่านั้น
– ในการสำรวจช้างโปรแกรมขี่ 200 ตัวอย่าง เมื่อปี 2018 มีช้างแค่ 9 ตัวเท่านั้นที่มีแผลที่อาจเกิดจากการใส่แหย่ง
– ในนี้ 4 ตัวมีแผลที่อกที่อาจเกิดจากสายรัดแน่นเกินไปเท่านั้น ขณะที่อีก 5 ตัวมีแผลบนหลังที่อาจเกิดจากการแหย่ง
– ตัวสัตวแพทย์ไม่เคยพบช้างที่ใช้บรรทุกนักท่องเที่ยวที่มีโครงสร้างกระดูกสันหลังเปลี่ยนแปลงไป จะเจอก็แต่อาการอย่างลังบวมอักเสบ หรืออาการบาดเจ็บจากการแบกแหย่งนานเกินไป
– เราไม่มีการศึกษาวิจัยรองรับว่าการขี่ช้างทำให้กระดูกสันหลังของช้างงอ ข่าวที่ออกมาเป็นเพียงการคาดการณ์
– ที่ช้างหลังยุบอาจมาจากเหตุอื่นๆ อย่าง อุบัติเหตุ การกระแทก ความผิดปกติมาแต่กำเนิด หรือภาวะขาดแคลเซียม
ดังนั้น เธอจึงมองว่าซักประวัติจากเจ้าของช้างและควาญที่เคยเลี้ยงคงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยหาสาเหตุของเรื่องช้างหลังยุบในครั้งนี้
แต่ถึงอย่างนั้นเธอก็แนะนำด้วยว่า ปางช้างที่มีโปรแกรมขี่ช้างแบบใส่แหย่ง ควรมีการกำกับดูแลที่ดีเพื่อตัวช้างเอง และควรให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ของช้างเป็นหลัก
ซึ่งปางช้างไหนทำได้อยู่แล้ว หรือทำมานานแล้ว ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทำต่อไป ปางไหนกำลังพัฒนาอยู่ก็ขอสนับสนุน
ที่มา
www.facebook.com/pakkanut/posts/pfbid0BVxkjeb8iNq7sy8hzPEhtgsYkfwMHeLGDajqrntqQvagqLzQW9jh4phiha5zWai2l