ถือเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงบนโลกโซเชียลอย่างกว้างขวางเลย กับประเด็นที่มีการหยิบภาพของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ขณะกำลังนั่งไขว่ห้างพูดคุยหารือกับประธานสภา ส.อ.ท. ที่มีชาวเน็ตบางส่วนมองว่าไม่เหมาะสม
ไม่เพียงแค่นั้นเหล่าชาวเน็ตยังมีการนำภาพของ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ที่นั่งไขว่ห้างในงานแถลงข่าว ณ สถาบัน Asia Society ในปี 2562 มาเปรียบเทียบกันในเรื่องความเหมาะสมอีกด้วย
แต่ทราบไหมว่าการไขว่ห้างเป็นอีกหนึ่งท่าทางที่ได้รับความนิยมแบบสากล แถมยังเป็นภาษากายที่ตีความได้หลากหลายที่ไม่ได้ไปในแง่ลบเพียงอย่างเดียวนะ
Steven Keyl ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษากายได้ออกมาเผยว่า การไขว่ห้าง (Crossed legs) เป็นภาษากายที่ชวนให้สับสนไม่น้อย แต่มันขึ้นอยู่กับบริบทและท่าทางในตอนนั้น
เดิมทีแล้วมันมีความเป็นไปได้สูงว่าคนเราจะนั่งไขว่ห้างเพียงเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยตึงที่ส่วนหลังของเราเท่านั้น ดังนั้น การไขว่ห้างจึงถูกมองว่าเป็นภาษากายของคนที่กำลังผ่อนคลาย
บางครั้งการนั่งแบบนี้จึงถูกนำไปใช้เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจหรือแม้แต่ความเป็นมิตรในทางธุรกิจหรือการเมืองได้ (อารมณ์ว่า “ฉันไม่ได้กลัวนายนะ” ทั้งในความหมายดีและไม่ดี)
แต่ปัญหาคือบางครั้งเราก็จะนั่งนั่งไขว่ห้างในเวลาที่รู้สึกไม่ดี เพื่อบรรเทาความเครียด หรือซ่อนความกลัวด้วย
การไขว่ห้างจึงสามารถของได้ว่าเป็นภาษากายของคนที่กำลังพยายามป้องกันตัวเอง ซึ่งอาจบ่งบอกว่าพวกเขาอยากถอนตัวจากการสนทนา จนยากที่จะโน้มน้าวเช่นกัน
และนี่ยังไม่นับร่วมถึงปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรม ที่บางประเทศจะรู้สึกว่าการยกเท้าสูงไม่ดีอีก ในหลายๆ ครั้งการไขว่ห้างจึงอาจถูกมองในแง่ที่ไม่ดีหรือไม่สุภาพเช่นกัน
ดังนั้น สุดท้ายแล้วการจะบอกว่านั่งไขว่ห้างสุภาพหรือไม่ จึงจำเป็นต้องอาศัยบริบท ภาษากายอื่นๆ และสถานการณ์ประกอบหลายอย่างมาก (เช่นตำแหน่งมือ)
ว่าง่ายๆ คือการนั่งไขว่ ท่าทางอื่นๆ ของร่างกายถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าไขว่ห้างแล้วสำรวมท่าทางก็จะดูดี แต่ถ้านั่งไขว่ห้างแล้วทำอะไรแบบเกาเท้า ภาพลักษณ์ก็อาจจะถูกมองอีกแบบเช่นกัน
ที่มา
www.insider.com/commonly-misunderstood-body-language-2018-6#crossing-your-legs-2
bodylanguagematters.com/body-language-crossed-legs/
www.primalpictures.com/blogs/sitting-legs-crossed-body-impact/
theconversation.com/why-sitting-with-crossed-legs-could-be-bad-for-you-201354