ช่วงนี้ตามหน้าสื่อโซเชี่ยลต่าง ๆ เราจะเห็นข่าวพรรคที่ได้คะแนนนำอย่างก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยพูดถึงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรกันอย่างดุเดือด
นั่นจึงทำให้หลายคนสงสัยว่าตำแหน่ง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” นี้ มีหน้าที่อะไร ทำไมพรรคใหญ่จึงจ้องเก้าอี้ประธานกัน
ก่อนอื่นนั้น #เหมียวมาร์ชเมลโล่ ก็จะมาขอทวนข้อมูลให้เพื่อน ๆ ทราบก่อนว่า ปัจจุบันรัฐบาลไทยแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ เพื่อถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน
โดยประมุขแต่ละฝ่าย ได้แก่
– นิติบัญญัติ คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
– บริหาร คือ นายกรัฐมนตรี
– ตุลาการ คือ ประธานศาลฎีกา
ซึ่งตำแหน่ง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” จะมาจากการเลือกในสภานั่นเองครับ โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้…
1. เป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฯ หลังสภาฯ มีมติเลือก
2. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ
3. เป็นประธานในที่ประชุมสภา ซึ่งวางตัวเป็นกลาง
4. กำกับดูแลการดำเนินกิจการของสภา
5. ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุม
6. เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก
7. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา
8. เลื่อนการประชุมหรือเลิกการประชุมได้ตามที่เห็นสมควร
9. หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
ด้วยอำนาจหน้าที่เหล่านี้เอง จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลายพรรค ตั้งเป้าหมายที่จะส่งสมาชิกเข้ามาชิงเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนั่นเองครับ
#เหมียวมาร์ชเมลโล่