การเมืองคือเรื่องซับซ้อน เมื่อการรักษาอำนาจให้นานที่สุดโดยไม่สนวิธีการ นำไปสู่การใช้พลังลับเพื่อสกัดคู่แข่งของตัวเอง
ช่วงนี้การเมืองไทยมันก็จะร้อนๆ หน่อย #เหมียวเลเซอร์ ก็เลยอยากจะพาทุกท่าน ย้อนกลับไปอ่านคดีวอเตอร์เกต เรื่องราวอื้อฉาวทางการเมืองของสหรัฐฯ ที่นับว่าเป็นการลาออกจากตำแหน่งครั้งแรกของประธานาธิบดีเลยทีเดียว
เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน สังกัดพรรครีพับลิกัน ช่วงปี 1972-1974
ปี 1972
มีกลุ่มชาย 5 คน แอบเข้าไปในตึกวอเตอร์เกท ที่ทำการใหญ่พรรคเดโมแครต เพื่อเข้าไปขโมยเอกสารลับสุดยอด และมีการติดเครื่องดักฟังเอาไว้ด้วย
แต่เครื่องมันดันใช้การไม่ได้ ทั้ง 5 คนก็เลยกลับเข้าไปในอาคารอีกรอบในวันที่ 17 มิถุนายน เพื่อติดตั้งไมค์ดักฟังตัวใหม่
ทาง รปภ. สังเกตเห็นความผิดปกติในตัวอาคารหลายจุด พบว่ามีเครื่องดักฟังติดอยู่ตามประตูหลายบาน ก็เลยโทรแจ้งตำรวจให้เข้ามาตรวจสอบ แล้วก็เจอกลุ่มคนทั้ง 5 จับกุมตัวได้คาหนังคาเขา
จากการสอบสวนเบื้องต้น ยังไม่แน่ใจว่ากลุ่มคนทั้ง 5 เนี่ยมีความเกี่ยวข้องกับประธานาธิบดีนิกสันหรือเปล่า? ได้แค่สงสัยว่าสำเนาเบอร์โทรคณะทำงานของฝั่งนิกสันอยู่กับกลุ่มคนนี้ได้ยังไง
ประธานาธิบดีนิกสัน พร้อมคณะทำงานต่างปฏิเสธถึงความเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่บุกรุกตึกวอเตอร์เกต ศรัทธาของประชาชนยังอยู่กับเขา และทำให้เขาชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน
แต่ในช่วงหลังจากนี้ มีความพยายามที่จะปกปิดให้มิด เพื่อไม่ให้มีการสาวตัวมาถึงผู้อยู่เบื้องหลังการบุกรุกตึกวอเตอร์เกต
ทั้งให้เงินคนที่บุกเข้าตึกวอเตอร์เกตเพื่อปิดปาก (เช็คเงินสดที่พบในกระเป๋ากลุ่มคนบุกเข้าตึก) มีการใช้อำนาจของตัวเองในทางที่มิชอบ เพราะนิกสันได้สั่งให้ทาง CIA ไปขัดขวางการสืบสวนของ FBI
สื่อและนักข่าวเริ่มทำการขุดคุ้ยที่มาที่ไป มีเบาะแสสำคัญจากบุคคลนิรนามเข้ามาอยู่ในมือ รวมถึงคนในหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมเริ่มสงสัย
ทำให้กลุ่มคนใกล้ตัวของนิกสันที่สมรู้ร่วมคิดก็เริ่มเก็บความลับไม่อยู่ ก็เลยออกมาให้การต่อหน้าคณะลูกขุนใหญ่ เปิดโปงการก่ออาชญากรรมของประธานาธิบดีนิกสัน
รวมถึงการที่นิกสันแอบบันทึกการสนทนาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในห้องทำงานของประธานาธิบดีด้วย ถ้าได้เทปเหล่านั้นมา จะสามารถเอาผิดนิกสันได้
อัยการไต่สวนนิกสัน สั่งให้นิกสันมอบเทปบันทึกเสียงในห้องทำงานมาเป็นหลักฐาน นิกสันที่เป็นประธานาธิบดีก็ใช้อำนาจสั่งไล่ออกหน้าตาเฉย เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมก็ไม่พอใจพากันลาออกประท้วง ก็เลยได้เทปมาแค่บางส่วน ยังไม่ได้มาทั้งหมด
ปี 1974
ศาลมีการสั่งฟ้องอดีตผู้ช่วยนิกสันทั้ง 7 คนในข้อหาพัวพันกับคดีวอเตอร์เกต และสั่งให้นิกสันส่งเทปที่เหลือให้ศาล เขาพยายามถ่วงเวลาให้นานที่สวุด จนถูกฟ้องร้องในข้อหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ใช้อำนาจมิชอบ ปกปิดอาชญากรรม และละเมิดรัฐธรรมนูญ
สุดท้ายแล้ว ในวันที่ 5 สิงหาคม นิกสันก็ยอมเปิดเผยเทปที่เหลือ กลายเป็นหลักฐานมัดตัวเขาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีวอเตอร์เกต เขาถูกฟ้องร้องให้ลงจากตำแหน่ง และเขาก็ประกาศลาออกในวันที่ 8 สิงหาคม
แม้ว่าจะมีความผิดหนักหนาขนาดไหน แต่เขาก็ไม่ได้รับโทษใดๆ เพราะว่า เจอรัลด์ ฟอร์ด รองประธานาธิบดีที่ขึ้นตำแหน่งแทน ได้ให้อภัยโทษแก่อดีตประธานาธิบดีนิกสัน
ส่วนพวกที่เหลือที่เกี่ยวข้องและเคยอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ในสมัยนิกสันก็ต้องก้มหน้ารับโทษกันไป
ถ้าใครอยากดูเรื่องราวเกี่ยวกับคดีนี้ให้มากขึ้น แนะนำเรื่อง All the President’s Men เลยจ้า