ลึกลงไปใต้ท้องทะเลของมหาสมุทรอินเดีย ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ได้พบกับ “หลุมความโน้มถ่วง” (gravity hole) พื้นที่ขนาดใหญ่ราวๆ 3 ล้านตารางกิโลเมตร
ซึ่งเป็นมีแรงโน้มถ่วงต่ำจนผิดปกติอย่างสุดโต่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และที่ผ่านมายังไม่มีใครบอกได้ว่าเพราะอะไร
โชคดีที่เมื่อล่าสุดนี้เองสถาบันวิทยาศาสตร์อินเดียในบังกาลอร์ได้ตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวและพบว่า “หลุมความโน้มถ่วง” นั้นแท้จริงแล้วน่าจะเกิดจาก “ลักษณะการกำเนิด” ของพื้นที่เอง
คงต้องอธิบายสักนิดว่าจริงๆ แล้วแรงโน้มถ่วงของโลกเรานั้นไม่ได้เท่ากันทุกที แต่ผันแปรไปตามลักษณะภูมิประเทศหรือสิ่งที่อยู่ในชั้นเนื้อโลกเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ซึ่งในกรณีของหลุมความโน้มถ่วง จากแผนภาพจีออยด์ (แผนที่แสดงรูปทรงของโลกที่วัดจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และสนามความโน้มถ่วงโลก) เราจะเห็นได้ว่าพื้นที่นี้ (สุดสีฟ้าๆ ในภาพ) มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะลงไป
ที่เป็นแบบนี้เป็นไปได้ว่าเกิดจากการที่ในอดีตมหาทวีปสองทวีปได้บีบอัดกัน เกิดเป็นมวลสารร้อนแต่เบาจำนวนมากในชั้นเนื้อโลก และมวลสารดังกล่าวก็อัดแผ่นทวีปที่มีความหนาแน่นกว่าจนจมลงไปใต้ทะเลอีกที
ซึ่งหลุมที่เกิดจากการบีบอัดนี้เอง ก็ดูจะทำให้สนามความโน้มถ่วงโลกในพื้นที่มีกำลังน้อยลง ไม่ว่าจะเพราะของแผ่นทวีปใต้ทะเลรับแรงดึงดูดไปแทน หรือเพราะความลึกของแอ่งกระทะเอง
จนเกิดเป็นสถานที่แปลกๆ ที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำอย่างที่เห็นในที่สุด
ที่มา
www.bbc.com/thai/articles/cy97xvkld55o
futurism.com/the-byte/scientists-intrigued-gravity-hole-bottom-ocean