ย้อนกลับไปเมื่อปี 2011 ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดเหตุสารกัมมันตรังสีรั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ซึ่งจนถึงในปัจจุบันน้ำหล่อเย็นที่ปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้าก็ยังคงถูกเก็บไว้โดยทางการ
แถมปริมาณน้ำมันยังมากมายถึงขนาดเติมสระว่ายน้ำโอลิมปิกได้ 500 สระ สร้างปัญหาทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและที่จัดเก็บเป็นอย่างมาก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลจึงได้วางแผนที่จะจัดการน้ำดังกล่าวมาตลอด
กระทั่งล่าสุดนี้เอง สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศของ UN ซึ่งทำการการศึกษาเกี่ยวกับน้ำหล่อเย็นเหล่านี้มานานกว่า 2 ปีก็ได้ออกมาอนุมัติแผนการ “ทิ้งน้ำปนเปื้อนเหล่านี้ลงทะเล” ของรัฐบาลญี่ปุ่นแล้ว
หลังจากที่พวกเขาสามารถยืนยันได้ว่าการทิ้งน้ำตามแผนนี้จะมีผลกระทบทางรังสีต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม “น้อยพอที่จะมองข้ามไปได้”
ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะก่อนจะทิ้งน้ำลงทะเลจริงๆ รัฐบาลญี่ปุ่นจะทำการบำบัดน้ำอย่างเคร่งครัดจนกว่าระดับไอโซโทปจะลดลงมาในระดับที่ได้ยอมรับในระดับสากล
แถมการปล่อยน้ำดังกล่าวยังเป็นการปล่อยออกมาอย่างช้าๆ เพื่อให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด ถึงขั้นที่ว่าโครงการอาจต้องใช้เวลาตั้งแต่ 30-40 ปีเลย กว่าที่น้ำจะถูกปล่อยออกไปได้หมด
แต่แม้จะมีการรับรองขนาดนี้แล้วก็ตาม ข่าวที่ออกมาก็ยังคงสร้างความกังวลแก่หลายๆ ฝ่ายอยู่ดี โดยเฉพาะคนในพื้นที่ปล่อยน้ำ และประเทศใกล้เคียงอย่างจีน และเกาหลี
นั่นเพราะพวกเขาดูจะมองว่าน้ำที่ปล่อยออกมาอาจส่งผลกระทบถึงอาหารจากทะเลเช่นปลาหรือเกลือได้ และสำหรับบางคนการตัดสินใจนี้ก็ดูจะ “เกิดขึ้นเร็ว” จนพวกเขาสงสัยว่าทำไม UN จึงออกมารายงานอย่างเร่งรีบเช่นนี้ด้วย
ที่มา
www.reuters.com/world/asia-pacific/japan-get-crucial-un-verdict-fukushima-water-release-2023-07-04/
www.iaea.org/newscenter/pressreleases/iaea-finds-japans-plans-to-release-treated-water-into-the-sea-at-fukushima-consistent-with-international-safety-standards
futurism.com/the-byte/japan-un-dump-radioactive-fukushima-water