ถือว่าเป็นข่าวดีของโลกเลย เมื่อล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ของอังกฤษ ได้ออกมาประกาศการค้นพบ “วัสดุมีรูพรุน” ใหม่
ที่มีศักยภาพในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก ซึ่งอาจเป็นหนทางใหม่ในการสู้กับภาวะโลกร้อนได้ในอนาคต
วัสดุที่ว่านี้ ในปัจจุบันยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจริงๆ แต่จำลองขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ AI เรียงโมเมกุลของ ออกซิเจน ไนโตรเจน และฟลูออรีน ให้เป็นซูเปอร์โมเลกุลอินทรีย์
ที่จะสามารถทำหน้าที่เหมือนกรงโมเลกุลเล็กๆ ที่จะดูดและเก็บคาร์บอนไดออกไซด์และซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ สองก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญเอาไว้
ทีมวิจัยอธิบายถึงแรงบันดาลใจของการทดลองว่า เมื่อนึกถึงการลดภาวะเรือนกระจก ปกติเราก็คงจะนึกถึง “ต้นไม้” แต่ด้วยภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ต้นไม้อย่างเดียวอาจจะ “ช้าเกินไป” แล้ว
ดังนั้น เราจึงต้องการการแทรกแซงของมนุษย์ อย่างโมเลกุลที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อดักจับก๊าซเรือนกระจกจากสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และ “เร็วขึ้น” นั่นเอง