เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยเป็นกัน เวลาเช้าๆ กำลังนอนบนเตียงสบายๆ เสียงนาฬิกาปลุกเพียงครั้งเดียว ไม่เคยพอที่จะปลุกให้เราลุกจากเตียงได้เลย
ดังนั้นเราจึงอาจใช้วิธีตั้งนาฬิกาปลุกหลายครั้ง หรือกด Snooze ให้มือถือปลุกใหม่อีกครั้งในอีก 5-10 นาที เพราะจากผลสำรวจที่สหรัฐฯ มีคนมากถึง 72% เลยที่มีอาการเช่นนี้
แต่เชื่อหรือไม่ว่าในทางวิทยาศาสตร์การนอนหลับ การกด Snooze หรือตั้งนาฬิกาปลุกหลายครั้งอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีกับร่างกายและการนอนหลับอย่างที่เราคิดก็ได้
เพราะมันจะทำให้สมองของเราสับสน จนอาจต้องใช้เวลาตื่นเต็มตาจริงๆ นานกว่าเดิมก็ได้
อ้างอิงจากคุณ Daniel Barone นักประสาทวิทยาที่โรงพยาบาลนิวยอร์คเพรสไบทีเรียน และคุณ Angela Bradle นักจิตวิทยาและผู้อำนวยการฝ่ายบริการบำบัดที่ศูนย์อารมณ์โกลด์โคสต์
เหตุผลที่ทำให้เรารู้สึกดีเวลาตอนต่อตอนเช้าเป็นเพราะร่างกายของเราหลั่งสารเซโรโทนินออกมา มันจึงเป็นเรื่องง่ายที่เราจะกลับไปนอนอีกครั้งหากเพิ่งตื่นได้ไม่นาน
ปัญหาการตื่นนอนนั้น ไม่ใช่กระบวนการที่เกิดขึ้นปุ๊บปั๊บแต่เป็นสิ่งที่มีขั้นมีตอน (เป็นเหตุผลที่ทำไมเวลาตื่นเรางัวเงีย) การกลับไปนอนในช่วงเวลานี้จึงมักทำให้สมองของเราส่งร่างกายกลับไปในช่วงหลับลึก
ซึ่งหากเราตอนต่อไปเลยแบบไม่สนโลก มันก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่การ Snooze หรือตั้งปลุกจะหมายความว่าในอีกไม่กี่นาทีต่อมาจะถูกนาฬิกาปลุกดึงให้สมองหลุดออกมาจากการหลับลึกอีก
เมื่อมันเกิดซ้ำไปซ้ำมาการทำงานสมองจึงอาจเกิดการติดขัด นำไปสู่อาการสับสน หรือง่วงซึมค้างเป็นเวลานานกว่าที่ควรได้
โชคดีที่อาการเช่นนี้ตามปกติแล้วจะไม่ใช่สิ่งที่ส่งผลร้ายกับร่างกายมากนัก อย่างมากมันก็อาจจะแค่ทำให้เรารู้สึกแย่เวลาตื่นนิดหน่อย แต่ถึงอย่างนั้นมันก็คงจะดีกว่าหากเราไม่ต้องรู้สึกแบบนี้
ดังนั้นคุณ Daniel จึงแนะนำว่าแทนที่จะตั้งปลุกรัวๆ มันจะเป็นการดีกว่าถ้าเราจะตั้งปลุกเพียงครั้งเดียวในช่วงเวลาสายที่สุดเท่าที่เราพอจะรับได้ ไม่ไปเรียนหรือทำงานสาย
เพราะมันมีโอกาสสูงที่ต่อให้ตั้งเวลาหลายอันเราก็จะตื่นเวลานั้นอยู่ดี มันจึงเป็นเรื่องดีกว่าที่เราจะสามารถตื่นเต็มตาเร็วขึ้น ไม่ใช่ตื่นมาแล้วสมองสับสนไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรต่อนั่นเอง
ที่มา
www.studyfinds.org/snooze-button-social-life/
www.businessinsider.com/sleep-expert-explains-snooze-alarms-are-terrible-2017-11
www.mamamia.com.au/is-it-bad-to-set-multiple-alarms/