ด้วยความก้าวหน้าของวงการวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันหัวข้อเรื่อง “ฟิสิกส์ควอนตัม” และ “โลกคู่ขนาน” จึงกำลังถือเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจ และการศึกษาอย่างจริงจังขึ้นเรื่อยๆ
อย่างล่าสุดนี้เองนักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีเจ้าของรางวัลเซอร์ อาร์เธอร์ คลาร์ก อวอร์ด อย่างคุณมิชิโอะ คาคุ ก็เพิ่งจะออกมาเปิดเผยแนวคิดที่น่าสนใจว่า
หาก “ทฤษฎีควอนตัม” ที่มาจากหลักการความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์กเป็นจริง มันจะมีความเป็นไปได้เล็กน้อย ที่เราจะมีตัวตนอยู่แม้ในที่ห่างไกลอย่างดาวอังคาร
และหากทุกสิ่งทุกอย่างเป็นใจ “มันจะมีความเป็นไปได้เล็กๆ ที่คลื่นควอนตัมจะพาเราทะลุผ่านกาลเวลาและอวกาศ ไปโผล่ที่นั่น (ดาวอังคาร) ด้วย”
แน่นอนว่าในความเป็นจริงแล้วโอกาสที่จู่ๆ วันหนึ่งเราจะตื่นขึ้นมาและพบว่าตัวเองอยู่บนดาวอังคารนั้น จะมีน้อยมาถึงขั้นที่เราอาจต้องรอนานกว่าอายุขัยของจักรวาลเสียอีก
แต่ถึงอย่างนั้น โอกาสที่จะเกิดขึ้นมันก็ไม่ได้เป็น 0 เสียทีเดียว
และแนวคิดที่ว่านี้เอง ก็เป็นสิ่งที่จะเปิดประตูไปสู่ความเป็นไปได้อื่นๆ ในทางฟิสิกส์ควอนตัม อย่างโลกคู่ขนาน หรือแม้แต่การไขปริศนาจุดกำเนิดของเอกภพเลยด้วย
ที่มา
futurism.com/the-byte/michio-kaku-mars
www.nytimes.com/2022/06/20/special-series/michio-kaku-multiverse-reality.html