ย้อนกลับไปเล็กน้อยในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเปิดเผยภาพของหลุมดำรูปที่ 2 อย่าง “Sagittarius A*” ออกมา ซึ่งเป็นการยืนยันทฤษฎีในอดีตว่าที่ใจกลางกาแล็กซีของเรานั้น มีหลุมดำยักษ์อยู่จริงๆ
(อ่านข่าวนี้ได้ที่: www.facebook.com/CatDumbNews/photos/a.738940689482056/5333720653337347)
ถึงอย่างนั้นก็ตามด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี รูปที่ออกมาจึงอาจจะดูเบลอเกินไป ไม่จุใจหลายๆ คนที่อยากจะรู้ว่าหลุมดำ Sagittarius A* นั้นมีลักษณะอย่างไรจริงๆ
ดังนั้น เมื่อล่าสุดนี้เองนักวิจัย 3 คนจากสถาบันการศึกษาขั้นสูง (IAS) ในพรินซ์ตัน จึงออกมาร่วมมือกันสร้างแบบจำลอง หลุมดำ Sagittarius A* ที่สมจริงที่สุดในเราชมเสียเลย
แบบจำลองอันใหม่นี้ ถูกสร้างขึ้นด้วยการรวมการจำลองรายละเอียดของการเคลื่อนที่ของก๊าซรอบๆ หลุมดำ เข้ากับภาพหลุมดำเมื่อเดือนพฤษภาคม และข้อมูลองค์ประกอบอื่นๆ อย่างการสั่นไหวของก๊าซ หรือการกระพริบของแสง
เพื่อสร้างเป็นแบบจำลองที่ที่แสดงให้เห็นว่าก๊าซรอบๆ หลุมดำนั้น เดินทางอย่างไรในใจกลางกาแล็กซีของเรา
ชมคลิปส่วนหนึ่งของแบบจำลองใหม่นี้ได้ที่นี่:
โดยในแบบจำลองอันใหม่นี้ ทีมนักวิจัยได้พบกับความเป็นไปได้ใหม่ที่น่าสนใจมาก
เพราะพวกเขาพบว่าก๊าซรอบๆ หลุมดำนั้น แท้จริงแล้วน่าจะเป็นของที่กระจายจากดาวใกล้ๆ และตกลงมายังหลุมดำมากกว่าที่จะเป็นสิ่งที่หลุมดำดูดมาจากดาวใกล้ๆ ด้วยตัวเอง
“มันเป็นเวลานานแล้วที่ เรามักคิดกันว่าก๊าซรอบหลุมดำจะมาจากไหนก็ไม่สำคัญ แบบจำลองทั่วไปจึงมักจินตนาการถึงวงแหวนของก๊าซรอบหลุมดำเป็นรูปโดนัท ซึ่งอยู่ห่างจากหลุมดำพอสมควร
แต่เราก็พบว่าแบบจำลองดังกล่าวจะทำให้เกิดรูปแบบการกะพริบที่ไม่สอดคล้องกับที่ถูกสังเกตเห็นจริงๆ”
และแม้ว่าแบบจำลองของหลุมดำนี้อาจจะเป็นแค่แบบจำลองที่สวย หรือสมจริงขึ้นอีกขั้นสำหรับคนทั่วไปมากนัก
แต่ในทางดาราศาสตร์โมเดลนี้ก็อาจจะช่วยเพิ่มความสมจริงในการจำลองว่าดาวที่อยู่ใกล้ใจกลางกาแล็กซีจะเสียวัสดุไปยังหลุมดำอย่างไรบ้างได้เป็นอย่างดีเลยเช่นกัน
ที่มา
www.iflscience.com/this-glorious-simulation-is-the-most-realistic-model-of-sagittarius-a-yet-64178
iopscience.iop.org/article/10.3847/2041-8213/ac75c3