เมื่อเรากล่าวถึง “ระบบสุริยะ” หลายคนก็คงจะนึกถึงระบบดาวในกาแล็กซีทางช้างเผือกที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีอายุเก่าแก่สุดๆ อยู่มาแล้วกว่า 4,571 ล้าน
แต่เชื่อกันหรือไม่ว่าระบบที่มีอายุมากอย่างยาวนานของเรานั้น แค่จริงแล้วมันอาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่เสถียรอย่างที่เราคิดไว้ก็เป็นได้ นั่นเพราะอ้างอิงจากงานวิจัยใหม่ของนักฟิสิกส์เชิงคำนวณจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต
หากระยะห่างเฉลี่ยระหว่างดาวเนปจูนกับดวงอาทิตย์เปลี่ยนไปแม้เพียง 0.1% มันก็จะทำให้โอกาสที่ระบบสุริยะเข้าสู่ความโกลาหลมากขึ้นถึงสิบเท่าได้เลย
โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบความจริงข้อนี้ ภายในการจำลองความเปลี่ยนแปลงของระบบสุริยะ 2,880 ครั้ง และพบว่าในการทดลองเหล่านี้ หากวงโคจรของดาวเนปจูน เปลี่ยนไปเกิน 4.5 ล้านกิโลเมตร (เช่นโดนอุกกาบาตเฉี่ยว)
วงโคจรของมันจะส่งผลกระทบไปถึงดาวอื่นๆ ในระบบสุริยะเยี่ยงลูกโซ่ จนในเวลาราวๆ 20 ล้านปี โลกของเราก็จะมีโอกาสถึง 10% เลยที่จะชนกับดาวอังคารแบบจังๆ และในการจำลองก็มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น 1 ครั้งด้วย
เท่านั้นยังไม่พอ ในการจำลองเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ยังพบด้วยว่า มีตัวอย่างร่วม 30 ชิ้นที่เกิดการชนกันของดาวพุธและดาวศุกร์
แถมในบางตัวอย่างดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวพุธก็อาจจะถูกเหวี่ยงออกไปจากระบบโดยสิ้นเชิงด้วย เรียกได้ว่าความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ อาจนำมาซึ่งหายนะใหญ่เลย
แต่แม้นี่จะเป็นอะไรที่น่ากลัว นักวิจัยก็บอกไว้ด้วยว่าโอกาสที่จะเกิดเรื่องแบบนี้จริงๆ มีอยู่ไม่ถึง 20 ครั้งตลอดช่วงเวลา 1 แสนล้านปีข้างหน้าเท่านั้น
และงานวิจัยนี้ก็เพียงแค่ชี้ให้เห็นว่าระบบสุริยะอาจไม่ได้เสถียรอย่างที่หลายๆ คนเชื่อก็เท่านั้น
ที่มา
arxiv.org/abs/2206.14240
www.iflscience.com/small-changes-to-neptunes-orbit-by-a-passing-star-could-wreck-the-entire-solar-system-64354