ตามปกติเวลาที่เราพูดอะไรโดยไม่ได้เตรียมการไว้ก่อน หลายครั้งเราก็อาจจะนึกคำพูดที่อยากจะพูดไม่ออก จนทำให้ประโยคถูกขั้นด้วยเสียงอย่าง “อ่า” “อืม” หรือ “เออ” อยู่บ่อยๆ
ในทางการพูด การใช้คำเหล่านี้อาจจะถือเป็นพฤติกรรมที่หลายคนไม่อยากให้เกิดนัก แต่เชื่อหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วเสียงขั้นประโยคเหล่านี้ มันอาจจะมีประโยชน์กว่าที่เราคิดก็ได้
นั่นเพราะอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ การใช้เสียงแบบ อ่า อืม หรือ เออ อาจช่วยให้ผู้ฟังจำสิ่งที่เราจะพูดต่อไปได้แม่นยำขึ้นได้ด้วย!!
โดยในการทดลองนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าการพูดไม่คล่อง (Disfluency) หลายๆ รูปแบบ จะทำให้การจดจำของผู้ฟังดีขึ้นในระยะสั้นๆ ได้
ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด และการทดลองหลายๆ ชิ้น ที่บอกว่าการหยุดหรือขัดจังหวะการพูดของตัวเอง (เช่นการทิ้งช่วงระหว่างพูด) จะทำให้คำพูดต่อไปมีความน่าสนใจขึ้นเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตามในการทดลอง นักวิจัยก็ได้พบด้วยว่าการกระตุ้นความทรงจำของการพูดไม่คล่องนั้น จะเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมาก แล้วแต่ตำแหน่งในประโยคของคำด้วย
โดยมันจะส่งผลดีเฉพาะเมื่อความไม่คล่องแคล่ว ตามมาด้วยคำสำคัญที่ท้ายประโยคทันที ซึ่งนั่น อาจหมายความว่าการใช้คำพูดอย่าง
“นายกบอกว่าเขามีสมอง อืม… 840,000 ล้านเซลล์” จะมีผลดีกว่าคำพูดอย่าง
“อืม… นายกบอกว่าเขามีสมอง 840,000 ล้านเซลล์” นั่นเอง
ที่มา
psycnet.apa.org/record/2022-82550-001
www.reddit.com/r/science/comments/w5cwwa/sentence_fillers_like_um_or_uh_arent_a_nuisance/