เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ชื่อ “Mandela Effect” กันไหม? นี่คือปรากฏการณ์ซึ่งคนจะเข้าใจหรือจดจำข้อมูลของอะไรบางอย่างผิด เมื่อเห็นภาพที่หรือสิ่งที่มีรูปแบบใกล้เคียงกัน
ถูกตั้งชื่อความเข้าใจผิดครั้งใหญ่ในโลกออนไลน์เมื่อปี 2013 ซึ่งผู้คนเข้าใจผิดว่าภาพของนักแสดง “มอร์แกน ฟรีแมน” คือ “เนลสัน แมนเดลา” ที่เสียชีวิตไป
โดยปรากฏการณ์นี้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่นักวิทยาศาสตร์ ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์จึงยังไม่มั่นใจนักว่ามันมีอยู่จริงไหม
กระทั่งล่าสุดนี้เองนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกก็ได้ทำการทดลองยืนยันแล้วว่า Mandela Effect เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงๆ และมันแปลกกว่าที่เราคิดด้วย
พวกเขาได้ขอสรุปนี้จากการทดลองให้อาสาสมัครดูรูปตัวละคร หรือโลโก้ ดังๆ หลายชุด
ซึ่งแต่จะชุดจะประกอบด้วยภาพ 3 ภาพ ประกอบด้วยภาพจริงๆ 1 ภาพ ภาพที่ทีมงานทำออกมาเอง 1 ภาพ
และภาพที่ทำออกมาให้ “เหมาะสมกับตัวละครในความคิดของคน” (เช่นปิกาจูที่มีปลายหางสีดำ) อีก 1 ภาพ ซึ่งทีมงานเรียกมันว่า “VME-images” (Visual Mandela effects images)
พวกเขาพบว่าคนส่วนใหญ่จะจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าภาพไหนกันที่ตกลงแล้วเป็นของจริง และด้วยเหตุผลบางอย่างภาพแบบ VME จะถูกคนเลือกมากกว่าภาพที่ทีมงานทำออกมาเองอีกภาพด้วย
ที่สำคัญต่อให้ก่อนการทดลองทีมวิจัยเอาภาพจริงๆ ของตัวละครหรือโลโก้ให้คนดูก่อน (โดยไม่บอกว่าจะทดลองอะไร) ภายในการทดลองคนเหล่านั้น ก็มักจะยังเลือกรูปผิดไม่เปลี่ยนแปลงด้วย
ปัญหาคือคำจำกัดความของภาพแบบ VME ในการทดลองนั้น ดูจะยังไม่ชัดเจนมากนัก
เพราะในขณะที่ภาพบางภาพถูกอาสาสมัครเลือกมากว่าภาพอีกแบบอย่างเห็นได้ชัด มันก็มีภาพบางชุดเช่นกันที่ทำผลงานได้ไม่ดีเท่าไหร่
ดังนั้น ทีมงานจึงระบุว่าปรากฏการณ์ที่ชื่อ “Mandela Effect” น่าจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงๆ และมีความเกี่ยวข้องกับการที่ผู้คนมักสร้างข้อผิดพลาดในหน่วยความจำอย่างต่อเนื่อง
แต่เพราะอะไรภาพปลอมบางภาพถึงทำผลงานได้ดีหรือแย่กว่าภาพอื่นๆ นั้น ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนนัก อย่างน้อยก็ในปัจจุบัน
ที่มา
www.iflscience.com/study-finds-the-mandela-effect-is-real-and-incredibly-difficult-to-explain-64526
psyarxiv.com/nzh3s/