สำหรับหลายๆ ประเทศในโลกพวกเขาเลือกที่จะใช้งาน “หลุมฝังกลบ” ในการกำจัดขยะ เพราะสำหรับหลายๆ ฝ่ายนี่เป็นวิธีกำจัดขยะที่สะดวกกับผู้ดูแล และทำได้ง่ายที่สุดอันหนึ่งเลย
แต่ในขณะเดียวกันการใช้งานหลุมฝังกลบกำจัดขยะก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไม่น่าเชื่อเช่นกัน เพราะล่าสุดนี้เองจากการวิเคราห์ข้อมูลและภาพถ่ายดาวเทียมนักวิทยาศาสตร์ก็เพิ่งจะค้นพบเลยว่า
พื้นที่ฝังกลบขยะนั้น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่าง “มีเทน” ออกมาแบบมหาศาล แค่หลุมฝังกลบขยะที่มุมใบของอินเดีย ก็มีการปล่อยมีเทนมากถึง 85,000 ตันต่อปีแล้ว
และในหลุมฝังกลบขยะใหญ่ๆ อย่างที่ บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา ก็มีการปล่อยมีเทนถึง 250,000 ตันต่อปี มากพิๆ กับครึ่งหนึ่งของการปล่อยก๊าซมีเทนทั้งหมดของเมืองเลย
โดยเหตุผลของการปล่อยมีเทนจากหลุมฝังกลบขยะนั้น ก็มาจากขยะอาหารและขยะอินทรีย์ในหลุมย่อยสลายไปนั่นเอง และด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปริมาณการปล่อยมลพิษเหล่านี้ ก็กำลังค่อยเพิ่มขึ้นด้วย
ทำให้ในปัจจุบันหลุมฝังกลบขยะเป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซมีเทนทั่วโลกสูงถึงราวๆ 11% และอาจเพิ่มขึ้นได้สูงถึง 70% ภายในปี 2050 เลยด้วย
ดังนั้น นักวิจัยจึงต้องออกมาบอกเลยว่า มันถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องปรับการดูแลหลุมฝังกลบขยะให้ดีขึ้นกว่าที่เคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอย่างอินเดียที่หลุมฝังกลบมักถูกไฟไหม้ปล่อยมลพิษในวงกว้าง
และพวกเขาก็เชื่อว่าข้อมูลจากการศึกษาหลุมฝังกลบขยะทั่วโลกเช่นนี้ จะกลายเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญเลยสำหรับการแก้ปัญหาหลุมฝังกลบขยะที่กล่าวมาข้างต้น
ที่มา
www.science.org/doi/10.1126/sciadv.abn9683
www.reuters.com/business/environment/landfills-around-world-release-lot-methane-study-2022-08-10/
www.npr.org/2022/08/11/1116874946/scientists-say-landfills-release-more-planet-warming-methane-than-previously-tho