สำหรับระบบบริการคุมสอบทางไกลชื่อ “Proctorio” มันคือซอฟต์แวร์ป้องกันการโกงข้อสอบราคาแพง ที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในช่วงการระบาดของ โควิด-19 ซึ่งทำให้เด็กหลายๆ คนต้องเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์
ซึ่งซอฟต์แวร์ที่มีชื่อเช่นนี้ตามปกติก็ควรจะทำงานป้องกันการโกงข้อสอบได้สมราคา แต่จากรายงานใหม่ล่าสุดนี้ ของมหาวิทยาลัยทเวนเต้ ประเทศเนเธอร์แลนด์
ดูเหมือนว่าจริงๆ แล้ว “นักศึกษา” เป็นเชี่ยวชาญในการ “หลอก” ซอฟต์แวร์ป้องกันการโกงกว่าที่เราคิด ถึงขนาดที่ในวิจัยนี้ Proctorio แทบจะไม่ได้มีผลดีไปกว่าการบอกนักเรียนว่ามีการตรวจจับการโกงข้อสอบเฉยๆเลย
โดยในการทดลองนี้นักวิจัยได้ให้อาสาสมัครวัยมหาวิทยาลัย 30 คน ทดลองสอบโดยให้ Proctorio คอยควบคุม โดยในจำนวนนี้ 6 คนจะถูกบอกให้โกงข้อสอบ ในขณะที่อีก 5 คนถูกบอกให้ “ทำตัวน่าสงสัย” แต่ไม่ได้โกงข้อสอบ
พวกเขาพบว่าแม้ Proctorio จะไม่ได้ “จับผิดตัว” นักศึกษาที่ไม่ได้โกงข้อสอบจริงๆ แต่ในขณะเดียวกันมันก็จับนักศึกษาที่โกงข้อสอบได้เพียง 1 จาก 6 คนเท่านั้น และ 1 คนที่ว่าก็ถูกจับได้เพราะตัวแทนมนุษย์ด้วย
“ความสามรถของ Proctorio จากการทดลองนี้ จึงมีค่าเกือบจะเป็น 0 เลย” ทีมวิจัยระบุ
จริงอยู่ว่าในการทำโปรแกรมตรวจจับการโกงเช่นนี้ มันเป็นเรื่องสำคัญที่ระบบจะไม่จับคนร้ายผิดคน แต่ผลการสำรวจที่ออกมาก็ทำให้หลายๆ ฝ่ายรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนักเช่นกัน
และแม้ว่างานวิจัยนี้จะเป็นการทดลองกับโปรแกรมตัวเดียวก็ตาม แต่มันก็ทำให้เห็นได้อย่างดีว่า
ในช่วงเวลาที่เรายังคงมีโอกาสจะต้องกลับไปเรียนทางไกลอยู่เช่นนี้ การพัฒนาระบบตรวจจับการโกงให้ดีขึ้นก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งประเด็นน่าสนใจที่ผู้เกี่ยวข้องควรจะนึกถึงเผื่อไว้เลยก็ได้
ที่มา
ris.utwente.nl/ws/portalfiles/portal/275927505/3e2a9e5b2fad237a3d35f36fa2c5f44552f2.pdf
futurism.com/the-byte/study-outsmarting-anti-cheating
www.vice.com/en/article/93aqg7/scientists-asked-students-to-try-to-fool-anti-cheating-software-they-did