ลึกลงไปใต้น่านน้ำบริเวณนอกชายฝั่งเกาะออฟีอุสส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะปาล์มในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเจมส์คุก ได้ประสบความสำเร็จในการค้นพบสิ่งน่าอัศจรรย์
เมื่อพวกเขาได้บังเอิญพบกับปะการังโขด (Porites) ขนาดยักษ์สูงร่วม 5.3 เมตร กว้าง 10.5 เมตร ซึ่งทำให้มันกลายเป็น ปะการังที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก เท่าที่มนุษย์เคยพบมาเลย
เจ้าปะการังที่ถูกพบในครั้งนี้ได้รับชื่อจากนักวิทยาศาสตร์ว่า “Muga dhambi” (แปลว่า ‘ปะการังยักษ์’)
โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้นทีมวัยวิจัยคาดว่ามันอาจจะมีอายุได้มากถึง 421-438 ปี เรียกได้ว่าอยู่มานานก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามายังออสเตรเลียอีก
อายุที่มากขนาดนี้ทำให้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ตลอดช่วงชีวิตของมัน Muga dhambi จะเคยต้องผ่านเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวมาร่วม 100 ครั้ง และอาจจะต้องพบกับภัยรุกรานอื่นๆ จากสัตว์น้ำ กระแสน้ำ และพายุอีกราว 80 ครั้ง
แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามมันกลับยังคงสุขภาพดีอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยตัวปะการังที่มีชีวิตมากกว่า 70% ในขณะที่ส่วนที่เหลือแม้จะถูกปกคลุมโดยฟองน้ำ หินปะการัง สาหร่ายมาโคร แต่ก็ไร้ซึ่งร่องรอยการเกิดโรค
“ปะการังโขดขนาดใหญ่ที่เกาะออฟีอุส เป็นอะไรที่ทั้งหายากและทนทานมาก
มันรอดพ้นจากปะการังฟอกขาว สัตว์ต่างถิ่น พายุไซโคลน เหตุการณ์น้ำลดรุนแรง และกิจกรรมของมนุษย์มาเกือบ 500 ปี”
ทีมวิจัยระบุ
ดังนั้นในปัจจุบันนักวิจัยจึงอยากให้ผู้คนร่วมมือกันรักษาปะการังยักษ์ที่ถูกพบในครั้งนี้ไว้ให้ดี
นั่นเพราะในปัจจุบันแนวปะการังเกือบทั้งหมดในโลกกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะหายไปโดยสิ้นเชิง จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเป็นกรดในมหาสมุทรนั่นเอง
ที่มา livescience, iflscience, nature
ติดตาม CatDumb ได้ในช่องทางอื่นๆ
Website: www.CatDumb.com
Youtube: www.youtube.com/c/CatDumbTV-Youtube
Instagram: www.instagram.com/catdumbnews/
TikTok: www.tiktok.com/@CATDUMBtv