ด้วยความกว้างใหญ่ของดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก ที่แห่งนี้จึงเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจ เฝ้าค่อยที่จะถูกพบเห็นโดยมนุษย์
ในทุกๆ ปี สมาคมนิเวศวิทยาอังกฤษ (British Ecological Society) จึงมักจะมีการจัดการแข่งขันถ่ายภาพอย่าง Capturing Ecology ขึ้น เพื่อหวังที่จะเฉลิมฉลองความหลากหลายของระบบนิเวศ ด้วยการรวบรวมและสรรหาภาพถ่ายพืชและสัตว์ที่ดีที่สุดจากทั่วโลก
ซึ่งในปีนี้การแข่งขันถ่ายภาพ Capturing Ecology 2021 ก็เพิ่งจะปิดฉากไปในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ดังนั้นนี่จึงอาจจะเป็นโอกาสอันดีเลยที่เราจะไปชมภาพถ่ายส่วนหนึ่งจากการแข่งขันนี้กัน
เรามาเริ่มกันจากภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศทั่วไป “Kumlien’s Gull and Friends”
ผลงานโดย Rebecca Nason เป็นภาพดวงตาของนกนางนวลคุมเลียนที่มีเห็บเกาะอยู่ราวเป็นลวดลาย
ต่อกันด้วยภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดใกล้ชิด (สำหรับนักเรียน) “Beauty in the (mini)beast”
ผลงานโดย Jack Marcus Smith เป็นภาพของแมลงวันตระกูล Calliphoridae
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดทั่วไป (สำหรับนักเรียน) “Hidden Lynx”
ผลงานโดย Dani Davis เป็นภาพของแมงมุม Green lynx ที่กำลังจับเหยื่อ
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดระบบนิเวศน์แบบไดนามิก “Finger-lickin’ good”
ผลงานโดย Vijay Karthick เป็นภาพของ Indrella ampulla หอยทากเฉพาะถิ่นในอินเดีย
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดศิลปะนิเวศวิทยา “Amazonian mosaic”
ผลงานโดย Raul Costa-Pereira เป็นภาพใบของต้นไม้ซึ่งถูกมอสไลเคนและเชื้อราขึ้นเต็มไปหมด
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดระบบนิเวศแบบไดนามิกสำหรับนักเรียน “Quick catch”
ผลงานโดย Dani Davis แมงมุมกระโดด (Phidippus regius) กับผีเสื้อที่มันจับได้
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวด รายบุคคลและประชากรโดยรวม (สำหรับนักเรียน) “Poisonous sentinel”
ผลงานโดย Jack-Marcus Smith กบพิษ(Oophaga granulifera) ขณะกำลังเฝ้าอาณาเขต
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดการดำเนินการด้านนิเวศวิทยา “Bat one health”
ผลงานโดย Pete Hudson เป็นภาพทีมงานจากมหาวิทยาลัยในบังกลาเทศสุ่มตัวอย่างค้างคาวผลไม้ เพื่อหาไวรัสนิปาห์ ที่เพิ่งมีรายงานการติดเชื้อในมนุษย์
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดใกล้ชิด “Beautiful bryophyte”
ผลงานโดย Alicia Hayden เป็นภาพของตะไคร่น้ำที่เติบโตบนกำแพง
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดศิลปะนิเวศวิทยา (สำหรับนักเรียน) “Spotlight”
ผลงานโดย Alicia Hayden เป็นภาพของแมงมุมที่ใช้เวลาซ่อมแซมใยของมัน โดยมีการใช้ไฟถนนเน้นให้เห็นการเคลื่อนไหวของขาของมัน
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดรายบุคคลและประชากรโดยรวม “Fleeting race”
ผลงานโดย Roberto García-Roa เป็นภาพของฝูงนกนางนวลฝูงใหญ่บินระยะสั้นรอบๆ ทุ่งข้าวในสเปน
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดผู้คนและธรรมชาติ (สำหรับนักเรียน) “Nature’s landmine”
ผลงานโดย John Benjamin Owens เป็นภาพของงูพิษที่อาศัยอยู่ในนาข้าว และมักถูกคนงานทำการเกษตรเหยียบโดยบังเอิญ
ภาพถ่ายรางวัลรองชนะเลิศหมวดทั่วไป “The fairy of the forests”
ผลงานโดย Robert García-Roa เป็นภาพของแมลงหายาก Valenciolenda fadaforesta ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “นางฟ้าแห่งป่าวาเลนเซีย” ในถ้ำที่สเปน
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดการดำเนินการด้านนิเวศวิทยา (สำหรับนักเรียน) “Reintroduction in action”
ผลงานโดย Joshua Powell เป็นภาพของ สัตวแพทย์จากกรมอุทยานฯ เตรียมขนย้ายหมีดำตัวเมีย
ภาพถ่ายรางวัลชนะเลิศหมวดผู้คนและธรรมชาติ “Tsunami”
ผลงานโดย Molly Dunn เป็นภาพของเถาไม้เลื้อยบนกำแพงริมถนนที่โดนไอเสียรถยนต์จนดำ
ภาพถ่ายรางวัลชมเชย “Black over white”
ผลงานโดย Doron Talmi เป็นภาพของฝูงนกขนาดใหญ่มาจิกกินกองขยะกลางแจ้งในหุบเขาจอร์แดน ประเทศอิสราเอล
ภาพถ่ายรางวัลชมเชย “Why the long face?”
ผลงานโดย Jack Marcus Smith เป็นภาพของด้วงโอ๊ก (Curculio glandium) เกาะอยู่บนใบโอ๊ก
ภาพถ่ายรางวัลชมเชย “Master of the reeds”
ผลงานโดย Alwin Hardenbol เป็นภาพของนก Panurus biarmicus ขณะเกาะต้นอ้อ
ภาพถ่ายรางวัลชมเชย “Dinner”
ผลงานโดย Merryn Thomas เป็นภาพของแมลงปอ Lestes sponsa กำลังเคี้ยวแมงมุมสวน
และปิดท้ายกันไปด้วยภาพถ่ายรางวัลชมเชย “Reflections”
ผลงานโดย Sam England เป็นภาพของ ผีเสื้อปีกแก้ว (Greta oto) ซึ่งจริงๆ แล้วมีปีกที่โปร่งใสอย่างสมบูรณ์ แต่แฟลชที่เข้มข้นของกล้องทำให้ปีกของมันดูเหมือนมีสีสันสดใสขึ้นมาก
ที่มา sciencefocus และ britishecologicalsociety