ในโลกใบนี้มีภาพที่น่าสนใจอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งบ่อยครั้งเป็นผลมาจากความบังเอิญที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ แต่ในบางครั้งภาพสุดมหัศจรรย์ก็อาจจะเกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์ได้เหมือนกัน
อย่างภาพที่เห็นนี้เอง หากมองเผินๆ ก็อาจจะสงสัยว่ามันน่าสนใจตรงไหน แต่หากสังเกตให้ดีๆ เพื่อนๆ จะรู้ว่านี่คือภาพที่ร่วมเอาเหล่านักวิทยาศาสตร์มือฉมังของโลกเอาไว้นั่นเอง
โดยภาพที่รวมเอาคนที่ฉลาดสุดๆ มาไว้ด้วยกันภาพนี้ถูกถ่ายขึ้นเมื่อปี 1927 ภายในการประชุมนานาชาติโซลเวย์ครั้งที่ 5 ในประเทศเบลเยียม และทำให้การประชุมครั้งนั้นกลายเป็นตำนานไป
ภาพการประชุมนานาชาติโซลเวย์ครั้งที่ 5 แบบไม่ผ่านการลงสี
การประชุมครั้งนี้มีหัวข้อการพบปะพูดคุยอยู่ที่เรื่องของ “อิเล็กตรอนและโฟตอน” และมีนักวิทยาศาสตร์ที่เคยได้รับรางวัลโนเบล (ทั้งก่อนจัดงานและหลังจัดงาน) เข้าร่วมประชุมถึง 17 คน นำทีมโดย Niels Bohr และ Albert Einstein
คนที่อยู่ในรูปนั้นประกอบด้วย (จากหลังไปหน้า จากซ้ายไปขวา)
– Auguste Piccard ผู้ออกแบบยานสำรวจน้ำลึก และบิดาของ Jacques Piccard ผู้พัฒนาเทคโนโลยีเรือดำน้ำ
– Emile Henriot ชายผู้แสดงให้โลกเห็นว่าโพแทสเซียมและรูโดเดียมเป็นสารกัมมันตรังสีตามธรรมชาติ
– Paul Ehrenfest เพื่อนของ Einstein และเจ้าของทฤษฎี Ehrenfest จำนวนมาก
– Edouard Herzen ผู้มีชื่อเสียงในการพัฒนาศาสตร์ด้านฟิสิกส์และเคมีในศตวรรษที่ 20
– Théophile de Donder บิดาของอุณหพลศาสตร์แบบผันกลับไม่ได้ (Irreversible Thermodynamics)
– Erwin Schrödinger ผู้วางรากฐานกลศาสตร์ควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมการชเรอดิงเงอร์ ได้รับ รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1933
– Jules Emile Verschaffelt นักฟิสิกส์ปริญญาเอกของ Heike Kamerlingh Onnes
– Wolfgang Pauli หนึ่งในกลุ่มผู้บุกเบิกด้านฟิสิกส์ควอนตัม ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1945
– Werner Heisenberg มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้คิดค้นหลักความไม่แน่นอนของทฤษฎีควอนตัม ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1932
– Sir Ralph Howard Fowler นักฟิสิกส์และนักดาราศาสตร์ ชาวอังกฤษ ผู้เคยดูแลเจ้าของรางวัลโนเบลมาแล้ว 3 คน
– Léon Nicolas Brillouin นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส มีส่วนร่วมในกลศาสตร์ควอนตัม การแพร่กระจายคลื่นวิทยุในบรรยากาศ และทฤษฎีสารสนเทศ
– Peter Debye นักฟิสิกส์ชาวเนเธอร์แลนด์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีเมื่อปี 1936
– Martin Knudsen นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก เจ้าของผลงานการไหลของโมเลกุลก๊าซ และการพัฒนาของเซลล์ Knudsen
– William Lawrence Bragg ลูกชายของ บิดาแห่งวิทยาการผลิกศาสตร์รังสีเอกซ์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับพ่อในปี 1915
– Hendrik Kramers ผู้ช่วยของ Niels Bohr และผู้คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลายทฤษฎี
– Paul Dirac หนึ่งในผู้ก่อตั้งฟิสิกส์สาขากลศาสตร์ควอนตัม เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1933
– Arthur Holly Compton ผู้ค้นพบการกระเจิงแบบคอมป์ตัน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี 1927
– Louis de Broglie ผู้ค้นพบความเป็นคลื่นของอิเล็กตรอน และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1929
– Max Born นักฟิสิกส์ผู้มีส่วนพัฒนาทฤษฎีด้านกลศาสตร์ควอนตัม และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1954
– Irving Langmuir นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เจ้าของผลงานด้านวิทยาศาสตร์พื้นผิว ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี 1932
– Max Planck นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้บุกเบิกการศึกษาทฤษฎีควอนตัม เจ้าของผลงานค่าคงตัวของพลังค์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1918
– Niels Bohr นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก ผู้ต่อยอดทฤษฎีโครงสร้างอะตอม และช่วยการวิจัยระเบิดปรมาณู ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1922
– Marie Curie นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม และผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล (สาขาฟิสิกส์ในปี 1903 และสาขาเคมีในปี 1911)
– Hendrik Lorentz นักฟิสิกส์ชาวดัตช์ เจ้าของผลงานการค้นพบและตั้งทฤษฎีเพื่ออธิบายปรากฏการณ์เซมัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี 1902
– Albert Einstein นักฟิสิกส์ทฤษฎีเจ้าของทฤษฎีสัมพัทธภาพ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1921
– Paul Langevin ผู้คิดค้นทฤษฎีและสมการ Langevin dynamics และ Langevin equation
– Charles-Eugène Guye ศาสตราจารย์ฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา
– Charles Thomson Rees Wilson ผู้ประดิษฐ์ห้องหมอกที่ใช้ตรวจจับอนุภาค
– Sir Owen Willans Richardson ผู้คิดค้นกระบวนการเทอร์ไมโอนิกอิมิชชันที่จำเป็นสำหรับการผลิตรังสีเอกซ์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1928
ที่มา rarehistoricalphotos