สำหรับประเทศไทยแล้ว เรามีภาพถ่ายหลายภาพที่เรียกได้ว่าเป็นภาพดังที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตามในบรรดาภาพเหล่านี้ กลับมีภาพหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีใครนำมาพูดถึงมากนัก ทั้งๆ ที่มันเป็นภาพที่หลายคนคงจะเคยเห็นมาบ้างสักครั้งในชีวิต
ภาพดังกล่าวนี้เป็นภาพของชายคนหนึ่งกำลังใช้เก้าอี้พับตีศพที่ถูกแขวนคอบริเวณท้องสนามหลวง ในช่วงวันที่ 6 ตุลาคม 2519
วันที่เกิดเหตุการณ์ ตำรวจยิงสังหารหมู่นักศึ
ภาพถ่ายภาพนี้ ถูกจับภาพไว้โดยช่างภาพชาวอเมริกันชื่อ Neal Ulevich จากสำนักข่าว Associated Press ภายใต้ชื่อตรงๆ ว่า
“ภาพความวุ่นวายและความโหดร้ายบนท้องถนนในกรุงเทพฯ” (Photographs of disorder and brutality in the streets of Bangkok)
ภาพถ่ายนี้ช่วงแรกไม่ได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์ในประเทศไทยโดยรัฐบาลในสมัยนั้น อย่างไรก็ตามในปีต่อมาภาพถ่ายดังกล่าวกลับได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ จนทำให้มันกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกไปในที่สุด
แน่นอนว่าหลังจากที่ภาพนี้กลายเป็นที่โด่งดัง เราก็เริ่มมีผู้คนจำนวนมากออกมาตามหาตัวทั้งผู้ตายและผู้ใช้เก้าอี้ตีศพในภาพ แต่ก็น่าเสียดายที่สุดท้ายเราก็ยังไม่สามารถฟันธงตัวตนของบุคคลในภาพได้แบบแน่ชัดนัก
เพราะแม้จะมีแหล่งข้อมูลบางแห่งบอกว่า ผู้ตายในภาพอาจเป็นนายวิชิตชัย อมรกุล นิสิตคณะรัฐศาสตร์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือไม่ก็นายกมล แก้วไทรไทย ก็ตาม
แต่ตัวตนผู้ลงมือเองกลับยังคงไม่เป็นที่แน่ชัดนัก แม้เคยมีหน่วยงานออกตามหาอย่างจริงจัง
ในท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่าภาพถ่ายนี้จะกลายเป็นภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลยิ่งใหญ่ก็ตาม สำหรับหลายๆ คนภาพที่ออกมานี้ กลับสร้างความไม่สบายใจอย่างไม่น่าเชื่อ
นั่นเพราะภาพของกลุ่มคนที่กำลังยิ้มอย่างภูมิใจกับการกระทำอันโหดเหี้ยมที่แสดงออกมาในภาพนั้น มันช่างสะท้อนให้เห็นถึงอะไรหลายๆ อย่าง และชวนให้สลดใจเป็นอย่างมากจริงๆ
ที่มา khaosodenglish, pulitzer และ doct6