วันที่ 14 กุมภาพันธ์ สำหรับหลายๆ คนแล้วคงจะถือว่าเป็น “วันวาเลนไทน์” วันแห่งความรักซึ่งควรจะเป็นวันที่เต็มไปด้วยความสุข แต่หากย้อนกลับไปในอดีตเมื่อราวๆ 93 ปีก่อน วันแห่งความรักในปีนั้น กลับเป็นวันที่นองเลือดอย่างไม่น่าเชื่อ
นั่นเพราะวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1929 นั้น คือวันที่เกิดเหตุการณ์ “การสังหารหมู่วันนักบุญวาเลนไทน์” (St. Valentine’s Day Massacre) ขึ้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์นองเลือด ที่มีชื่อที่สุดครั้งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาเลย

เหตุการณ์การสังหารหมู่วันนักบุญวาเลนไทน์นั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ สหรัฐอเมริกากำลังมีกฎหมาย “คำสั่งห้ามสุรา” (Prohibition) ซึ่งทำให้การจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
การตัดสินใจนี้ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวสหรัฐอเมริกา ต้องประสบปัญหาการค้าขายสุราเถื่อนรุนแรง แลำนำไปสู่การแข่งขันแย่งชิงถิ่นของกลุ่มมาเฟีย ชื่อดังหลายต่อหลายกลุ่ม
ซึ่งในชิคาโกแก๊งที่มีชื่อเสียงที่สุด “North Side Gang” ของ ก็คงไม่พ้น “จอร์จ บักส์ เมอแรน” และ “South Side Gang” ของ “แอล คาโปน”
โดยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1929 ได้เกิดเหตุสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องของ North Side Gang จำนวน 7 คน ถูกชายไม่ทราบชื่อ 4 คน ซึ่งมีรายงานว่าแต่งกายเหมือนเจ้าหน้าที่ตำรวจ สั่งให้ยืนหันหน้าหากำแพง
ก่อนกราดยิงใส่ด้วยปืนกล และปืนลูกซอง เกิดเป็นการสังหารหมู่ระหว่างแก๊งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในช่วงคำสั่งห้ามสุราไป
การสังหารหมู่วันนักบุญวาเลนไทน์แม้จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการระบุอย่างชัดเจนนักว่าตกลงแล้วเกิดขึ้นจากฝีมือใครกันแน่
อย่างไรก็ตามจากการที่ปืนที่ใช้เป็นของที่ทั้งตำรวจและมาเฟียใช้ แถม North Side Gang ก็เป็นคู่แข่งของ South Side Gang แอล คาโปน จึงมักถูกมองว่าน่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ในครั้งนี้
แต่ไม่ว่าใครจะเป็นคนลงมือก็ตาม การสังหารหมู่วันนักบุญวาเลนไทน์ก็กลายเป็นอีกชนวนสำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกา เริ่มกลับไปทบทวนกฎหมายห้ามจำหน่ายสุราของตัวเองอีกครั้ง
และเมื่อภาวะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) มาถึง พวกเขาก็ตัดสินใจยกเลิกการห้ามจำหน่ายสุราไปในที่สุด
ส่วนตัวแอล คาโปน ซึ่งหลายฝ่ายถูกมองว่าผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่วันนักบุญวาเลนไทน์เอง ต่อมาก็ถูกจับกุมตัวและขึ้นศาลเมื่อปี 1931 แม้จะเป็นในข้อหา “เลี่ยงภาษี” ก็ตาม
ที่มา history, britannica และ chicagomag