เพื่อนๆ เคยได้ยินเรื่อง “The Elephant’s Foot” หรือ “เท้าช้างแห่งเชอร์โนบิล” กันไหม มันไม่ใช่เท้าของช้างจริงๆ ซึ่งถูกสารกัมมันตรังสีแต่อย่างใด แต่เป็นกลุ่มก้อนมีพิษที่ว่ากันว่ามีความรุนแรงที่สุดในโลกต่างหาก
เท้าช้างแห่งเชอร์โนบิลเป็นกลุ่มก้อนของโคเรียม (Corium) ที่เกิดขึ้นจากการรั่วไหลของกัมมันตรังสีในเหตุการณ์เมื่อปี 1986 และถูกตั้งชื่อตามรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกับเท้าช้างจริงๆ
กลุ่มก้อนโคเรียม ที่ว่านี้แผ่กัมมันตรังสีรุนแรงมากถึง 10,000 เรินต์เกน (หน่วยวัดความแรงของสนามรังสี) ต่อชั่วโมง
ซึ่งหากจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือคนเราจะได้รับรังสีในระดับที่อันตรายถึงชีวิตในเวลาเพียง 30 วินาทีหลังจากที่เข้าใกล้มัน
จริงอยู่ที่เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณการแผ่รังสีของเท้าช้างแห่งเชอร์โนบิลก็ค่อยๆ ลดลงตามไปด้วย แต่ถึงอย่างนั้นการแผ่กัมมันตรังสีทั้งหมดในเชอร์โนบิล ก็จะคงอยู่ต่อเนื่องไปอีกนานกว่า 100,000 ปีเลยทีเดียว
และที่ภาพของเท้าช้างแห่งเชอร์โนบิลออกมาเหมือนกับภาพ ที่ถ่ายผ่านฟิลเตอร์ “Noise” หรือ “Grainy” แบบนี้ก็ไม่ใช่เพราะว่ากล้องไม่ดี แต่เป็นเพราะกัมมันตรังสีที่รุนแรงทำให้คุณภาพของฟิล์มตกลงไปต่างหาก
เท่านั้นยังไม่พอ กลุ่มก้อนนี้มีการซ้อนตัวหลายชั้นและมีความทนทานสูงมาก ถึงขั้นที่ว่าใช้สว่านเจาะไม่เข้า ทำให้ความคิดที่จะเคลื่อนย้ายหรือทำลายมันเป็นไปแทบจะไม่ได้ (ถึงแม้ทางโซเวียดจะบอกว่า AK ยิงเข้าก็ตาม)
ด้วยเหตุนี้เอง เจ้าเท้าช้างอันนี้จึงยังคงหลับไหลอยู่ในเมืองร้างแห่งเชอร์โนบิล
แม้แต่ในปัจจุบันก็ตาม
ที่มา rarehistoricalphotos, mcgill, news