ย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อราวๆ 85 ปีก่อน ในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1937 เหนือท้องฟ้าของเมืองเลกเฮิร์สต์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกาได้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญของวงการเรือเหาะขนาดใหญ่ขึ้น
เมื่อเรือเหาะ LZ 129 “ฮินเดนเบิร์ก” (หรือ “ฮินเดินบวร์ค”) เรือเหาะที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาของเยอรมนี จู่ๆ ก็เกิดติดไฟขึ้นกลางอากาศ ก่อนจะร่วงลงสู่พื้น
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 35 ราย (ผู้โดยสาร 13 คน ลูกเรือ 22 คน) จากคนบนเรือเหาะทั้งหมด 97 ราย และมีผู้เสียชีวิตบนพื้นดินอีก 1 คน เรียกได้ว่าเป็นสาเหตุให้การสร้างเรือเหาะของโลกต้องยุติลงไปช่วงใหญ่ๆ เลย
ในช่วงแรกของการเกิดโศกนาฏกรรม ด้วยความที่เทคโนโลยีการสืบสวนในสมัยนั้นยังไม่ดีนัก สาเหตุของโศกนาฏกรรมฮินเดนเบิร์กในอดีตจึงยังคงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาข้อเท็จจริงได้
แต่ด้วยความที่เหตุการณ์ในครั้งนี้ได้รับการบันทึกไว้อย่างละเอียดมาก เราจึงมีทฤษฎีที่น่าสนใจออกมาหลายชิ้นตลอดช่วง 85 ปีที่ผ่านมา โดยหนึ่งในทฤษฎีที่ได้รับความเชื่อถือที่สุดได้ระบุว่า
โศกนาฏกรรมฮินเดนเบิร์กน่าจะเกิดขึ้นจาก การเสียดสีกับอากาศทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ในจุดที่ถุงแก๊สไฮโดรเจนของเรือเหาะรั่ว (คาดว่าเพราะถูกลวดสะบัดใส่) จนเกิดการติดไฟขึ้นนั่นเอง
ที่มา
www.history.com/topics/great-depression/hindenburg
www.airships.net/hindenburg/disaster/