เชื่อว่าคงมีหลายๆ คนไม่น้อย ที่มีปัญหากับการตื่นนอนในยามเช้า เพราะแค่การลุกจากเตียง มันก็ช่างเป็นเรื่องที่ยากลำบากเสียเหลือเกินแล้ว
ดังนั้น จะเกิดอะไรขึ้นหากเวลาที่ตื่นเช้าขึ้นมาเราจะต้องพบกับอาการจิตตกเข้าไปอีก
ฟังดูไม่น่าอภิรมย์เลยใช่ไหม? แต่นี่คือสิ่งที่คนที่มีอาการ “โรคซึมเศร้ายามเช้า” (Morning Depression หรือ Diurnal Mood Variation) ต้องเผชิญกันแทบทุกวันเลย
อาการซึมเศร้ายามเช้าเป็นอาการที่แม้จะไม่ได้รับการแบ่งแยกจากภาวะซึมเศร้าทั่วไป แต่ก็เป็นอาการที่มีอยู่จริง
โดยคนที่มีอาการนี้ ส่วนมากจะรู้สึกว่าตัวเองอารมณ์แย่ที่สุดในช่วงเช้า และอาจมีอาการอื่นๆ เช่น
– หงุดหงิดง่าย
– เซื่องซึม
– ไม่มีความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต
– ปัญหาในการตัดสติหรือสมาธิ
– นอนหลับนานกว่าปกติ
แม้จะยังไม่มีการศึกษาอย่างเป็นทางการ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็คาดว่าอาการนี้น่าจะมีเหตุผลมาจากสาเหตุหลักคือ”ความผันแปรของจังหวะชีวิต” (Circadian rhythm)
อ้างอิงจากงานวิจัยในปี 2013 เมื่อนาฬิกาชีวิตถูกรบกวน ร่างกายของคนเราจะปล่อยฮอร์โมนบางตัวผิดเวลา ทำให้ฮอร์โมนที่ควรจะทำให้เราง่วงถูกปล่อยออกมาตอนเช้าเป็นต้น
ดังนั้นหากปัจจัยนี้ถูกรบกวน ไม่น่าจะจากการนอนผิดเวลา หรือทำงานกลางคืน ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าจะสูงขึ้นตามไปด้วย
ส่วนการรักษาโรคซึมเศร้ายามเช้าก็ไม่ต่างจากโรคซึมเศร้าทั่วไปนัก โดยแพทย์อาจมีการให้ยาที่เหมาะสม บำบัดด้วยการพูดคุย บำบัดด้วยแสง หรือแม้แต่บำบัดด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง
ในขณะที่ผู้มีอาการเอง ก็สามารถลดอาการซึมเศร้ายามเช้าในเบื้องต้นได้ โดยวิธีการดังนี้
– เข้านอนและตื่นเวลาเดิมทุกวัน
– กินอาหารตามเวลา
– งดการงีบหลับนานๆ
– หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้นอนหลับไม่สนิท เช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์ และยาสูบ
– ออกกำลังกายบ่อยๆ แต่งดออกกำลังก่อนนอน อย่างน้อย 4 ชั่วโมง
ที่มา
www.pnas.org/content/110/24/9950.short
www.verywellmind.com/diurnal-mood-variation-1067149
www.healthline.com/health/depression/morning-depression#what-you-can-do