ด้วยความที่ “การนอนหลับ” สามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุภาพและวิถีชีวิตของเราได้โดยตรง
ถึงอย่างนั้นก็ตาม เมื่อเราอายุมากขึ้น รูปแบบการนอนของผู้คนก็ดูจะเริ่มเปลี่ยนไปเช่นกัน ซึ่งทำให้หลายๆ ครั้ง ผู้สูงอายุจึงมักจะนอนน้อยกว่าคนหนุ่มสาวอยู่เสมอ
ดังนั้นเมื่อล่าสุดนี้เองนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และมหาวิทยาลัยฟู่ตัน จึงได้จับเมื่อกันทดลองหา “ปริมาณการนอนที่เหมาะสมที่สุด” สำหรับคนมีอายุดู และผลที่ออกมาก็ถือว่าน่าสนใจไม่ใช่น้อยเลย
นั่นเพราะจากการตรวจสอบข้อมูลจากอาสาสมัครที่มีอายุระหว่าง 38 ถึง 73 ปี ร่วม 498,277 คน นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า
อาสาสมัครที่มีปริมาณการนอน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7 ชั่วโมง โดยไม่ถูกรบกวนนั้น ดูจะมีจะมีประสิทธิภาพในการรับรู้ สุขภาพจิต และสุขภาพโดยรวมที่ดี
เมื่อเทียบกับอาสาสมัครที่นอนน้อยกว่า หรือมากกว่า 7 ชั่วโมง ซึ่งดูจะสามารถส่งผลกระทบที่ไม่ดี กับทักษะความจำ การแก้ปัญหา หรือแม้แต่สุขภาพจิตได้
นี่นับว่าเป็นตัวเลขที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะตั้งแต่ในอดีตหลายๆ คนคงมักจะได้ยินคำพูดว่าเราควรนอน “มากกว่า” 8 ชั่วโมงอยู่บ่อยๆ
ตัวเลขตัวใหม่นี้จึงอาจแสดงให้เห็นว่ามีคนมีอายุจำนวนไม่น้อยเลยที่ “นอนนานเกินไป” ก็เป็นได้ และเช่นเดียวกับการนอนไม่พอ การนอนนานเกินไปเอง ก็อาจจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อเลย
“การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญในทุกช่วงวัยของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีอายุมากขึ้น
การหาวิธีปรับปรุงการนอนหลับสำหรับผู้สูงอายุอาจมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้พวกเขารักษาสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี
หลีกเลี่ยงการลดลงของความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตเวชและภาวะสมองเสื่อม”
ศาสตราจารย์บาร์บารา ซาฮาเคียน จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวสรุป
ที่มา
www.nature.com/articles/s43587-022-00210-2
www.cam.ac.uk/research/news/seven-hours-of-sleep-is-optimal-in-middle-and-old-age-say-researchers
www.iflscience.com/health-and-medicine/scientists-identify-optimal-amount-of-sleep-to-get-in-middle-to-old-age/