ย้อนกลับไปในวันที่ 21 สิงหาคม 1986 ที่ประเทศแคเมอรูน สาธารณรัฐในแอฟริกากลางได้เกิดเรื่องราวประหลาด
เมื่อประชาชนร่วม 1,746 คนและปศุสัตว์กว่า 3,500 ตัวในระยะ 25 กิโลเมตร รอบๆ ทะเลสาบไนยอส จู่ๆ ก็เสียชีวิตอย่างมีปริศนา สร้างความสับสนให้แก่ผู้คนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
เหตุการณ์ความตายปริศนาที่เกิดขึ้นนี้ ถูกบอกเล่าโดยคุณ Ephriam Che หนึ่งในผู้รอดชีวิตในภายหลังว่าเกิดขึ้นหลังจากเสียงประหลาดหลายฟ้าร้องในช่วงเวลาประมาณ 3 ทุ่ม
ก่อนที่ในวันต่อมาน้ำตกในพื้นที่จะแห้งสนิท พื้นที่รอบๆ เงียบไร้เสียงสิ่งมีชีวิต และเมื่อเขาเดินไล่น้ำแม่น้ำไปยังหมู่บ้าน เขาก็พบว่าทั้งคนทั้งสัตว์แทบทั้งหมดในที่แห่งนั้น ได้กลายเป็นร่างไร้วิญญาณไปแล้ว
“มันไม่มีแมลงวันบนศพด้วยซ้ำ…
เพราะแมลงวันเองก็ตายไปแล้วเช่นกัน”
คุณ Ephriam Che กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
อ้างอิงจากข้อมูลของผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์คนอื่นๆ ไม่มีวี่แววของการต่อสู้ใดๆ ในสถานที่ที่มีการพบร่างคนหรือสัตว์ตาย เรื่องเดียวที่พวกเขาพอจะรู้คือคนทั้งหมดตายหลังจากเสียประหลาด
และเบาะแสอื่นๆ ก็มีเพียง ในวันที่เกิดเหตุ มีกลิ่นของไข่เน่าลอยมาตามลม และบนร่างของคนในเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็นหรือตาย มีรอยแปลกๆ อยู่ก็เท่านั้น
“เมื่อฉันตื่นขึ้นมา ฉันก็พบว่าตัวเองมีแผลไหม้ที่แขนซ้าย…
น่าแปลกที่ตอนนั้นฉันไม่รู้สึกเจ็บเลย
ทั้งๆ ที่แขนออกมาราวกับเกือบจะเน่าเพราะบาดแผลด้วยซ้ำ”
คุณ Monica Lom Ngong อีกหนึ่งผู้รอดชีวิตกล่าว
จากการที่ส่วนใหญ่ผู้รอดชีวิตจะอาศัยอยู่สูงกว่าทะเลสาบ ในตอนแรกผู้คนเลยตั้งข้อสันนิษฐานกันไปเลยว่าความตายครั้งนี้อาจจะเกิดจากการโจมตีทางเคมีด้วยการเทสารพิษลงแม่น้ำ
อย่างไรก็ตามในกี่สัปดาห์ต่อมาทีมนักวิทยาศาสตร์ที่เดินทางมาตรวจสอบทะเลสาบ ก็พบว่าน้ำของที่นี่ได้เปลี่ยนสีไปแล้ว แถมในหมู่ผู้รอดชีวิต หลายคนเองก็เริ่มมีอาการอาเจียนท้องร่วงและเห็นภาพหลอน
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ล้วนแต่จะเป็นผลพวงมาจากอาการของพิษก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งนั้น
ดังนั้นพวกเขาจึงเก็บตัวอย่างน้ำจากทะเลสาบไปตรวจ และพบกับความจริงที่ว่า ในวันที่เกิดเหตุนั้น จริงๆ แล้วมีเหตุภูเขาไฟปะทุย่อมๆ ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาล ออกมาผสมน้ำและอากาศรอบบริเวณ
และเจ้าก๊าซนี้เองซึ่งอยู่เบื้องหลังความตายแบบกะทันหันของผู้คนในบริเวณ ในขณะที่ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่โชคดีแค่หมดหมดสติไป และตื่นขึ้นมาในอีกวัน หลังจากที่ลมได้พัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปแล้วนั่นเอง
ปัญหาที่ตามมาคือการระเบิดครั้งนี้ ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่แอฟริกากลางจะต้องพบแต่อย่างไร
นั่นเพราะไม่เพียงแต่ภูเขาไฟใต้ทะเลสาบไนยอสจะยังไม่สงบลงจริงๆ เท่านั้น แต่นักวิทยาศาสตร์ยังพบภูเขาไฟในลักษณะเดียวกันแต่ขนาดใหญ่กว่ามากที่คองโกกับรวันดาด้วย
แน่นอนว่าทางรัฐบาลของประเทศทั้งหมดนี้จะมีแผนการที่เตรียมไว้รับมือวันแห่งหายนะอยู่บ้าง แต่แผนการเหล่านั้นก็ไม่มีอะไรมายืนยันว่าาจะใช้ได้จริงแต่อย่างไร
กลับกันแม้ว่าเราจะยังไม่รู้ว่าภูเขาไฟเหล่านี้จะปะทุขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็มั่นใจว่าสักวันภูเขาไฟเหล่านี้จะต้องประทุขึ้นแน่ๆ อย่างน้อยๆ 1 ครั้งในรอบพันปี เพียงแต่ในรอบพันปีนี้มันจะปะทุเมื่อไหร่ก็เท่านั้นเอง
ที่มา iflscience และ chonday