มันเป็นเรื่องที่หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินกันมาก่อนว่าในอวกาศนั้น ตามปกติจะไม่มีเสียงใดๆ นั่นเพราะในอวกาศแทบไม่มีอากาศที่จะเป็นตัวกลางเพื่อส่งเสียงเข้าไปยังหูของมนุษย์เลย
แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามมันก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลยเช่นกันที่เราจะ “ฟังเสียงของอวกาศ” นั่นเพราะเมื่อล่าสุดนี้เององค์กรนาซาก็เพิ่งเปิดตัว “เสียงของซากดวงดาว” ชุดใหม่ออกมาให้เราฟังกันแล้ว
ทางนาซา นั้นสร้างเสียงขึ้นจาก สถานที่ที่ไม่น่าจะมีเสียงได้อย่างในอวกาศ ด้วยกระบวนการที่มีชื่อว่า “Sonification” ซึ่งเป็นโครงการของหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-ray Observatory) อีกที
โดยในกระบวนการนี้นักวิทยาศาสตร์จะนำภาพมาสร้างเป็นเส้นเสียงที่มีความถี่ต่างๆ กันแล้วแต่ลักษณะของแสง สี และรูปร่างในภาพ ทำให้พวกเขาแทบจะสามารถสร้างเสียงขึ้นจากภาพอะไรก็ได้
ซึ่งในกรณีนี้พวกเขาก็เลือกที่จะใช้ภาพของ “เศษซากซูเปอร์โนวาไทโค” (SN 1572) ซากซูเปอร์โนวาแสนสวยที่คาดกันว่าอยู่ห่างไปจากโลกราวๆ 8,000-9,000 ปีแสงอีกที
เสียงของภาพเศษซากซูเปอร์โนวาไทโค (SN 1572)
กระบวนการในรูปแบบนี้จริงๆ แล้วเคยถูกทดลองมาก่อนกับภาพที่ชื่อ Galactic treasure chest แล้วโดยในเวลานั้นเสียงที่ออกมาจะฟังดูแปลกๆ และชวนขนลุกอย่างไม่น่าเชื่อ
แต่น่าแปลกที่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ปรับปรุงระบบเล็กน้อยแล้วใช้มันกับซูเปอร์โนวาไทโคเสียงที่ออกมากลับถือว่าน่าสนใจ และฟังดูมหัศจรรย์ สมกับรูปร่างของมันเลย
เสียงของภาพ Galactic treasure chest
อันนี้ เสียงของกลุ่มเมฆก๊าซ Westerlund 2
ออกมาพร้อมๆ กับ SN 1572
อันนี้ เสียงของดาราจักร M87
ออกมาพร้อมๆ กับ SN 1572 เช่นกัน
และเช่นเดียวกับที่เสียงต้องการ “ตัวกลาง” ในการทำให้มนุษย์ได้ยิน มันก็อาจจะไม่ใช่เรื่องเกินเลยนักที่เราจะบอกว่า ในกระบวนการ Sonification ภาพที่เราเห็นเหล่านี้เอง ได้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางสื่อเสียงของจักรวาลให้เราได้ยินแล้ว