ในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2017 นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ลงทุนร่วม 3,200 ล้านบาท ในความพยายามที่จะตามหาสิ่งมีชีวิตต่างดาวซึ่งมีภูมิปัญญา
การลงทุนในครั้งนั้น ทำให้พวกเขาได้พบกับแสงกะพริบอย่างต่อเนื่อง 21 ครั้ง ส่องสว่างออกมาจากกาแล็กซี FRB 121102 ซึ่งห่างจากโลกไปราวๆ 3 พันล้านปีแสง ภายในระยะเวลาหนึ่งชั่วโมง
ในเวลานั้นนักดาราศาสตร์ได้วิเคราะห์แสงที่พวกเขาเห็น และพบว่านี่เป็นแสงที่เกิดจากการลุกจ้าอย่างฉับพลันในช่วงคลื่นวิทยุ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Fast Radio Burst (FRB) ซึ่งเป็นลักษณะสัญญาณวิทยุประหลาดที่เป็นปริศนามาเป็นเวลานานแล้ว
สาเหตุของ FRB นั้นเชื่อว่าเกิดจากดาวนิวตรอนที่หมุนเร็วมาก (เรียกกันว่าพัลซาร์) หรือไม่ก็โนวาของดาวนิวตรอนที่เกิดการระเบิดขึ้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานใดๆ มายืนยันข้อสันนิษฐานนี้
พัลซาร์ในเนบิวลา M1
แถมที่แปลกคือ ตามส่วนมาก FRB จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ไม่ใช่การกะพริบถี่ๆ เช่นนี้ ดังนั้นการค้นพบในครั้งนี้ กลายเป็นการค้นพบที่มีผู้คนสนใจกันเป็นจำนวนมาก
และว่ากันตามตรงแล้ว ในอดีต FRB 121102 เอง ก็เคยมีการพบ FRB มาก่อนแล้วในปี 2012 เช่นกัน เพียงแต่ในเวลานั้น การกะพริบของแสงไม่ได้เกิดขึ้นอย่างถี่ๆ แบบในครั้งนี้
ความถี่ของ FRB ที่มีการค้นพบ
เท่านั้นยังไม่พอเพราะล่าสุดนี้เอง เมื่อช่วงปลายปี 2018 นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ก็ได้ทำการค้นพบเพิ่มเติมว่าจริงๆ แล้วในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2017 กาแล็กซี FRB 121102 ยังมีการกะพริบอีกกว่า 72 ครั้ง ที่มนุษย์ยังไม่ได้ค้นพบ
การค้นพบในครั้งนี้ เกิดขึ้นโดยการใช้ใช้ระบบ AI ที่มีความ
จริงอยู่ว่าในปัจจุบันเราจะยังไม่อาจฟันธงได้ว่าการกะพริบทั้ง 93 ครั้งนี้เกิดขึ้นจากอะไร แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงไม่ทิ้งความเป็นไปได้ว่าแสงที่พวกเขาพบ อาจจะเป็นการพยายามในการสื่อสาร ของสิ่งมีชีวิตภายนอกโลกก็เป็นได้
ที่มา space, sciencealert
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.