เป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่าเรดาร์เป็นเทคโนโลยีตรวจจับที่สำคัญต่อโลกขนาดไหน แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าที่มนุษย์เราจะเริ่มมีการใช้เรดาร์ในทางทหารในปี 1941 คนเราเคยใช้เครื่องมือแบบไหนในการตรวจจับของแบบเครื่องบิน
คำตอบของคำถามนี้คือ “Acoustic location” หรือเครื่องตรวจตำแหน่งเสียง เครื่องมือที่อาศัยเครื่องของเครื่องยนต์จากเครื่องบินในการบอกตำแหน่งของยานบินในบริเวณ
แต่ส่วนมากแล้วเครื่องมือเหล่านี้ มักจะเป็นเพียงเครื่องเสริมความสามารถในการได้ยินของมนุษย์เท่านั้น จำเป็นที่จะต้องมีมนุษย์คอยเป็นผู้ฟังเสียงอีกทีหนึ่ง แถมมักจะมีรูปร่างที่แปลกมากเลยด้วย
ไม่เชื่อก็ลองไปชมภาพของเครื่องตรวจตำแหน่งเสียงในอดีตทั้ง 14 เครื่องต่อไปนี้ดูสิ
เริ่มกันจากเครื่องจับเสียงรูปร่างแตรคู่ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1921
(บางแหล่งข้อมูลก็บอกว่าปี 1925)
เครื่องจับเสียงของเยอรมนีในปี 1917 ที่ใส่แล้วจะคล้ายๆ มิกกี้เม้าส์หน่อยๆ
“Personal Parabola” อุปกรณ์ตรวจจับเสียงของชาวฮอลันดาในช่วงยุค 1930 มีรูปร่างคล้ายจานผ่าครึ่ง
อุปกรณ์ตรวจจับเสียงของชาวฮอลันดาในยุค 1930 อีกชิ้นหนึ่ง มีประสิทธิภาพมากกว่าชิ้นด้านบน
แต่ในขณะเดียวกันขนาดและน้ำหนักก็มากตามๆ กันไปด้วย
อุปกรณ์ตรวจจับเสียงของสาธารณรัฐเช็กในยุค 1920 มีจุดเด่น ที่ท่อยาวไปสู่จาน
การทดสอบเครื่อง “Perrin acoustic locator” ของฝรั่งเศสในยุค 1930 เครื่องนี้มีจุดเด่นที่แผง 4 แผงที่เห็น แต่ละอันจะมีแตรหกเหลี่ยมติดอยู่ถึง 36 อัน
อุปกรณ์ตรวจจับเสียงของเยอรมนีในปี 1915 ดูเหมือนว่ารุ่นนี้จะดีมากจนมีการผลิต และใช้งานยาวไปถึงปี 1934 เลยทีเดียว
อุปกรณ์ตรวจจับเสียงของญี่ปุ่นติดตั้งล้อ 4 ล้อเพื่อการเคลื่อนย้ายที่สะดวก
การแสดงสมรรถนะอุปกรณ์ตรวจจับเสียงของญี่ปุ่นในช่วงปี 1932
ระบบตรวจจับเสียงที่ใช้งานในทางตอนใต้ของอังกฤษเมื่อช่วงยุค 1930
เครื่องตรวจจับเสียงแบบสี่แตร ที่มีเจ้าหน้าที่ใช้งานสี่คนของอังกฤษ
เครื่องตรวจจับเสียงรูปร่างคล้ายจานดาวเทียมของประเทศเยอรมัน ใช้งานกันในช่วงปี 1939
จากในบันทึกทางประวัติศาสตร์อุปกรณ์รุ่นนี้สามารถจับเสียงได้ไกลถึง 5-12 กิโลเมตร แล้วแต่สภาพอากาศ
และการใช้งานเครื่องตรวจจับเสียงของชาวสวีเดนในปี 1940
ที่มา rarehistoricalphotos
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.