ย้อนรอย “ภัยพิบัติแห่งเมืองอะเบอร์ฟาน” ที่ทำให้ราชินีเอลิซาเบธเสียใจมาจนถึงทุกวันนี้

ในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1966 ที่เมืองอะเบอร์ฟาน ประเทศเวลส์ 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของสหราชอาณาจักร ได้เกิดเหตุภัยพิบัติ สารละลายของเสียจากการขุดถ่านหิน ไหลลงมาจากภูเขาจนทำให้มีเด็กๆ ร่วม 116 รายต้องเสียชีวิต

 

 

ภัยพิบัติในครั้งนี้รู้ไปถึงหูของราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แต่น่าแปลกที่ในช่วงเวลาแรกๆ ท่านกลับปฏิเสธที่จะไปเยี่ยมประชาชนผู้ประสบภัยในพื้นที่จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอยู่ช่วงหนึ่ง

กว่าที่ราชินีเอลิซาเบธที่ 2 จะไปเยี่ยมผู้ประสบภัยมันก็หลังจากเรื่องราวจบลงจริงๆ ถึง 8 วัน และแม้ว่าเวลาจะผ่านไปหลายสิบปีแล้วก็ตามแต่ราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เองก็ยังคงบอกว่าท่านเสียใจมากที่ท่านปฏิเสธที่จะมาเยี่ยมผู้ประสบภัยตั้งแต่วันแรกที่รู้ข่าว (อ้างอิงจากที่ท่านกล่าวไว้ในปี 2002)

นั่นเพราะไม่เพียงแต่ภัยพิบัติในครั้งนี้ จะเป็นเหตุการณ์สุดสลดที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก (เด็ก 116 รายกับผู้ใหญ่ 28 ราย) แต่มันยังเป็นเหตุการณ์ที่จริงๆ แล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้อีกด้วย

 

 

เรื่องราวมันเริ่มต้นขึ้นเมื่อเหมืองถ่านหิน “Merthyr Vale Colliery” มาเปิดที่เมืองนี้ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อปี 1920 และด้วยระบบกำจัดของเสียซึ่งเกิดจากการขุดเหมืองที่ไม่ดีในสมัยนั้น คนงานของเหมืองถ่านหินจึงเอาของเสียไปทิ้งไว้ที่บนเขาสูงชันข้างหมู่บ้าน

แน่นอนว่าของเสียจากเหมืองเริ่มทับถมกันหลังจากนั้น จนประชากรในหมู่บ้านเริ่มที่จะไม่สบายใจ เนื่องจากพื้นที่ที่มีการทิ้งของเสีย อยู่ใกล้ๆ กับโรงเรียนที่มีเด็กๆ เรียนอยู่ถึง 240 คน

 

 

อย่างไรก็ตามทางคณะผู้บริหารเหมืองตัดสินใจที่จะเมินเฉยต่อการเคลื่อนไหวของประชากรในหมู่บ้าน เนื่องจากพวกเขาคิดว่าหากตัดสินใจไม่ดี เหมืองอาจจะถูกสั่งปิดก็ได้

นั่นทำให้ในเดือนตุลาคมปี 1966 เมื่อในพื้นที่เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่อง ในที่สุดจุดทิ้งขยะก็รับปริมาณของเสียจากการขุดถ่านหินไม่ไหว และของเสียจากเหมืองที่ผสมกับน้ำก็ไหลลงสู่โรงเรียนและบ้านเรือนอย่างที่ผู้คนกลัวกันจริงๆ

แน่นอนว่าทางคณะผู้บริหารเหมืองถ่านหิน “Merthyr Vale Colliery” ถูกตัดสินว่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบในภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา ถึงอย่างนั้นก็ตามพวกเขาก็บ่ายเบี่ยงที่จะจ่ายค่าเสียหายมายาวนานจนถึงปี 1997 เลย

 

 

เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เด็กๆ กว่าครึ่งหมู่บ้านต้องเสียชีวิตไป และแม้ว่าทางภาครัฐจะออกเงินช่วยเหลือชาวบ้านกว่า 530 ล้านบาทก็ตาม แต่บาดแผลทางจิตใจของคนในพื้นที่ก็คงไม่อาจรักษาได้ด้วยเงินอยู่ดี นั่นเพราะสำหรับชาวบ้านในเมืองแล้ว

“ไม่ว่าจะได้รับเงินมากแค่ไหน ก็ไม่ทำสามารถทำให้คนที่ตายไปแล้ว คืนชีพกลับมาได้หรอก”

 

 

ที่มา history

Comments

Leave a Reply