การตรวจ DNA พบ งาช้างที่ถูกลักลอบขายในปี 2015 แท้จริงแล้วเป็นของ “ช้างแมมมอธ”

เป็นเรื่องที่ทราบกันว่าการค้นพบที่ทางโบราณคดีหลายๆ ครั้งก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากมือของเหล่านักโบราณคดีเอง แต่คงจะไม่มีใครคิดหรอกว่า การลักลอบค้างาช้างอย่างผิดกฎหมาย มันจะนำไปสู่การค้นพบทางโบราณคดีได้เช่นกัน

เพราะในขณะที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ของกลุ่มนักอนุรักษ์ในสกอตแลนด์และกัมพูชาได้ร่วมกันทำการตรวจสอบ DNA เพื่อหาที่มาของงาช้างผิดกฎหมายซึ่งถูกยึดมาในปี 2015 พวกเขาก็พบว่างาช้างที่พบนั้นไม่ได้มาจากช้างธรรมดาๆ แต่มาจากแมมมอธต่างหาก

 

 

ข่าวการค้นพบสุดประหลาดนี้ถูกเปิดเผยออกมาแก่สำนักข่าวต่างประเทศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา

เป็นไปได้ว่าที่งาช้างแมมมอธถูกนำเข้าประเทศมาแทนงาช้างธรรมดา น่าจะเกิดขึ้นจากความพยายามใช้ช่องโหว่ของกฎหมายของเหล่าพ่อค้างาช้าง ด้วยการนำเข้างาของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และไม่น่าจะมีกฎหมายรองรับ

 

 

โดยงาช้างแมมมอธที่พบเชื่อกันว่ามาจาก “เพอร์มาฟรอสท์” ดินเยือกแข็งคงในพื้นที่ Yakutia ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของไซบีเรียอีกทีหนึ่ง

การค้นพบในครั้งนี้แม้จะดูเป็นข่าวร้ายของวงการโบราณคดีอยู่บ้าง แต่หากมองจากฝั่งกลุ่มนักอนุรักษ์แล้ว การค้นพบในครั้งนี้ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นข่าวร้ายที่ไม่ได้มีข้อดีเลย

เพราะแม้ว่านี่จะเป็นการลักลอบขนส่งวัตถุโบราณก็ตาม แต่อย่างน้อยๆ มันก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่าเหล่าพ่อค้างาช้างนั้นหวาดกลัวกฎหมายจริงๆ จนต้องหาสินค้าอื่นๆ มาขายแทนงาช้างตามปกติ

 

 

และแม้ว่างาช้างแมมมอธจะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อยู่ก็ตาม แต่งาช้างแมมมอธสายพันธุ์ที่พบนั้น คาดกันว่ายังมีอยู่ใต้น้ำแข็งที่ไซบีเรียอีกกว่า 500,0000 ตันเลยทีเดียว

การค้นพบในครั้งนี้ทำให้ Prokopy Nogovitsyn นักสะสมงาช้างมีชื่อออกมาให้ความเห็นเลยว่า หากพ่อค้างาช้างเปลี่ยนไปขุดเพอร์มาฟรอสท์กันหมด ไม่แน่ว่าเราอาจจะสามารถช่วยชีวิตช้างแอฟริกาจากการถูกล่าไปอีกหลายรุ่นเลย

 

 

อย่างไรก็ตามเรื่องที่ว่าการขุดเอาวัตถุโบราณมาขายเป็นเรื่องที่สมควรหรือไม่นั้น ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องมีการพูดคุยถกเถียงกันต่อไปในปัจจุบัน

 

ที่มา allthatsinteresting

Comments

Leave a Reply