ค้นพบ K2-288Bb โลกใหม่ใหญ่กว่าโลกเรา 2 เท่า ห่างไป 226 ปีแสง อาจมี “น้ำ-สิ่งมีชีวิต”

เว็บไซต์ NASA ถึงกับขึ้นหัวข้อข่าวว่า “นักวิทย์อาสาสมัคร ค้นพบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทรรศน์ของนาซ่า!!”

 

 

ก่อนหน้านี้ NASA ส่งกล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ เพื่อไปค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบซึ่งเอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตในอวกาศ

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2018 กล้องโทรทรรศน์ดังกล่าวก็ได้ถูกปลดระวาง เหลือไว้เพียงแต่ข้อมูลอันล้ำค่าที่กล้องส่งกลับมาให้เหล่านักวิทยาศาสตร์บนโลกได้ร่วมวิเคราะห์กันต่อ

 

ล่าสุดมีนักวิทยาศาสตร์อาสาสมัครคนหนึ่ง Adina Feinstein  วิเคราะห์ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ ในส่วนที่ตกหล่นหายไป และประสบความสำเร็จในการค้นพบดาวเคราะห์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอยู่อาศัยได้

(เขตอยู่อาศัย คือเขตซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากดาวฤกษ์ มีสภาพอันเหมาะสมที่จะมีน้ำหรือสิ่งมีชีวิตอาศัยบนดาวเคราะห์นั้น)

 

ตัวอย่างของเขตอาศัยได้ คือไม่ร้อนและไม่หนาวจนเกินไป มีขนาดไม่ต่างจากดาวโลกมากจนเกินไป

 

ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ถูกตั้งรหัสภายใต้ชื่อ “K2-288Bb” ห่างจากโลก 226 ปีแสง และมีขนาดใหญ่ประมาณ 190% หรือราวๆ เกือบ 2 เท่าของโลกเรา

 

ขนาดดาวดังกล่าว ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Fulton gap ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่กว่าโลก แต่เล็กกว่าดาวเนปจูน

เป็นเรื่องไม่บ่อยนัก ที่ดาวเคราะห์ขนาดนี้จะอยู่ในเขตอยู่อาศัย จึงอาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำบนดาวเคราะห์ หรืออาจจะถึงขั้นมีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดังกล่าวเลยทีเดียว

 

ภาพจำลองจาก NASA

.

 

ตลอดระยะเวลากว่า 9 ปีที่กล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ถูกส่งไปค้นหาดาวเคราะห์ในเขตอยู่อาศัยได้ มีการยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์มากกว่า 2,600 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์

การค้นพบเจ้า K2-288Bb ในครั้งนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่สำคัญ ซึ่งอาจจะช่วยให้ NASA หรือนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ได้พบว่าข้อมูลจากกล้องเคปเลอร์ อาจจะมีบางส่วนที่ตกหล่นไป

 

และหากพวกเขานำข้อมูลดังกล่าวมาผ่านการวิเคราะห์อีกหลายครั้ง อาจจะนำมาซึ่งการค้นพบดาวเคราะห์ใหม่ๆ

รวมถึงดาวที่ “คล้ายคลึง” กับโลกของเรามากขึ้น จนอาจจะเจอดาวซึ่งเหมาะกับ “การอยู่อาศัย” มากกว่าที่เคยเจอมาก็เป็นไปได้เช่นกัน!!

 

 

เรียบเรียง #ประธานเหมียว

ที่มา:

www.techexplorist.com/citizen-scientist-just-discovered-planet-twice-the-size-of-earth/20036/

http://iopscience.iop.org/article/10.3847/1538-3881/aafa70

https://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?feature=7313

www.sci-news.com/astronomy/k2-288bb-exoplanet-06803.html


by

Tags:

Comments

Leave a Reply