งานวิจัยที่ว่า “น้ำอสุจิ” อาจจะมีผล “ลดอาการซึมเศร้า” ที่เกิดกับเพศหญิงได้!?

อาการซึมเศร้า เป็นที่พูดถึงมากขึ้นในช่วงหลัง และแม้จะมีหลายคนที่รู้ตัวว่าตนเองมีอาการดังกล่าว แต่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ตัวเช่นกัน

มีงานวิจัยเกี่ยวกับอาการซึมเศร้าที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง ถูกตีพิมพ์ผ่านเว็บไซต์ของ University at Albany เมื่อปี 2002

แต่ล่าสุดถูกนำมาทำเป็นข่าวและแชร์ต่อกันมากในโลกออนไลน์ของต่างประเทศ ทางแคทดั๊มบ์จึงถือโอกาสแปลมาให้ได้อ่านกัน

 

 

เป็นงานวิจัยที่พูดถึงความสัมพันธ์ของ “อสุจิ” และ “อาการซึมเศร้า” ในเพศหญิง

งานวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานของศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา Gordon Gallup เขาพบความเป็นไปได้ว่า การมีเซ็กส์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย และให้อวัยวะเพศหญิงได้สัมผัสกับน้ำอสุจิ มีส่วนช่วยลดอาการซึมเศร้า

 

การวิจัยนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นผู้หญิง 300 คน ทำการเก็บข้อมูลในเรื่องเซ็กส์ของพวกเธอ ไม่ว่าจะเป็น ความถี่ของการมีเซ็กส์ รสนิยมทางเพศ การป้องกันด้วยถุงยางอนามัยหรือไม่ใช้ถุงยาง

จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมวิจัย ได้ทำแบบประเมินอาการซึมเศร้า

พบว่าผู้หญิงที่มีเซ็กส์แบบไม่ใช้ถุงยางอนามัย จะมีคะแนนประเมินต่ำกว่าคนที่ใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันเป็นประจำ

 

ศาสตราจารย์ Gordon

 

ศาสตราจารย์ Gordon จึงให้เหตุผลว่าการมีเพศสัมพันธ์ด้วยการสัมผัสน้ำอสุจิของผู้ชาย มีผลทำให้ลดอาการซึมเศร้าของฝ่ายหญิงได้

พร้อมกับตั้งข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า เพศหญิงที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย แสดงว่ามีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับฝ่ายชาย อาจจะเป็นในลักษณะคู่รัก

ขณะที่ฝ่ายหญิงที่มีเซ็กส์ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำ อาจจะเพราะว่ามีความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนรักคนเดียว หรือยังไม่ได้สนิทใจกับคนรักเท่าที่ควร

(คนที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกว่า ก็อาจจะมีความสุข และมีอาการซึมเศร้าน้อยกว่าก็เป็นไปได้)

 

แต่ถุงยางก็ยังสำคัญ!!

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามที่ตามมาจากงานวิจัยนี้อีกพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นผลการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนกว่านี้ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำอสุจิ กับปฏิกิริยาในช่องคลอดฝ่ายหญิง

หรือจะเป็นการออกมาพูดถึงการไม่ใช้ถุงยางอนามัย ที่อาจจะนำมาซึ่งปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ในประเด็นนี้ศาสตราจารย์ Gordon ระบุว่า “การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ชี้นำให้คนเลิกใช้ถุงยางอนามัยนะครับ การป้องกันตัวเองจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือโรคติดต่อ ก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการหลั่งในเพื่อลดอาการซึมเศร้ามากๆ อยู่ดี”

 

 

เรียบเรียง #ประธานเหมียว

ที่มา:

www.albany.edu

www.psychologytoday.com

educateinspirechange.org


by

Tags:

Comments

Leave a Reply