เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการ “หมั่นเขี้ยว” ซึ่งมักเกิดขึ้นเวลาที่เราถูกใจอะไรสักอย่างแล้วอยากกอดรัดฟัดเหวี่ยง แสดงความหลงใหลต่อสิ่งๆ นั้น
ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราเล่นกับเด็กทารก แก้มยุ้ย ปากนิด จมูกหน่อย หน้าตาน่ารักน่าชัง จนอดไม่ได้ที่เข้าไปฟัด ไปหอมแก้มเด็กคนนั้น
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Yale อธิบายอาการหมั่นเขี้ยว ว่าเป็นความรู้สึกท่วมท้นจากความรักใคร่ ความเห็นดู โดยแสดงออกมาเป็นการกระทำที่อาจจะดูอุกอาจเกินไปนิด แต่เต็มไปด้วยความรู้สึกด้านบวกเท่านั้น
Katherine Stavropoulos นักจิตวิทยา ได้จากการศึกษาหัวข้อ “It’s so Cute I Could Crush It!: Understanding Neural Mechanisms of Cute Aggression”
การศึกษานี้จัดขึ้นเพื่ออธิบายอาการหมั่นเขี้ยว โดยใช้การตรวจประเมินการเต้นของหัวใจ
Stavropoulos และ เพื่อนร่วมงานของเธอได้บันทึกการทำงานของระบบประสาทของวัยรุ่น 54 คนเมื่อมองไปยังภาพคนและสัตว์ที่ดูน่าหมั่นเขี้ยว
ยกตัวอย่างเช่นภาพเด็กแก้มยุ้ย ตาโต ปากเล็ก ทำให้อดไม่ได้ที่จะแสดงอาการออกมา
การศึกษาดังกล่าวแสดงให้ถึงการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ เมื่อผู้เข้าร่วมทดลองแสดงอาการหมั่นเขี้ยวมากแค่ไหน สมองก็จะทำงานและสร้างความรู้สึกด้านบวกมากขึ้นเท่านั้น
ความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง ทั้งความด้านหลงใหลและความก้าวร้าว จนทำให้เกิดอาการ “หมั่นเขี้ยว” จนอยากฟัด อยากกอดสิ่งน่ารักเหล่านั้นเป็นเรื่องธรรมดา
เพราะฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเวลาเราเห็นอะไรน่าฟัด น่ากอด เราจึงอดไม่ได้ที่จะอยากเข้าไปฟัดมัน
เนื่องจากทั้งการเห็นสิ่งเหล่านั้น หรือการได้สัมผัส มันทำให้เกิดพลังในด้านบวกกับตัวเรานั่นเอง!!
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.