เมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ได้มีรายงานการค้นพบฟอสซิลเก่าแก่ที่เลบานอน ซึ่งเก็บร่องรอยของ “แฮกฟิช” จากยุคครีเทเชียสเอาไว้มานานกว่า 100 ล้านปี
แฮกฟิชเป็นปลาทะเลที่มีรูปร่างคล้ายกับปลาไหลที่มีชีวิตอยู่ด้วยการกินปลาตายหรือใกล้ตาย และมีจุดเด่นอยู่ที่เมือกของมันซึ่งเคยมีงานวิจัยว่าอาจจะนำมาทำเสื้อผ้าในอนาคตได้เลย
เชื่อกันว่าแฮกฟิชนั้นอยู่มาบนโลกในนี้ตั้งแต่เมื่อ 500 ล้านปีก่อนแล้ว อย่างไรก็ตามจากการที่แฮกฟิชไม่มีกระดูกสันหลัง ก็ทำให้หลักฐานการมีอยู่ของมันจึงแทบจะไม่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเลย
ดังนั้นการค้นพบในครั้งนี้จึงนับว่าเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ
แฮกฟิชที่พบในครั้งนี้มีความยาวอยู่ที่ 12 นิ้ว หรือราวๆ 30 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าสั้นกว่าความยาวโดยเฉลี่ยของแฮกฟิชในปัจจุบันอยู่เล็กน้อย อย่างไรก็ตามลักษณะโดยรวมของปลาสายพันธุ์นี้กลับแทบจะไม่มีการเปลี่ยนไปเลย
จากการวิเคราะห์ร่องรอยฟอสซิลของนักวิทยาศาสตร์ ดูเหมือนว่าความสามารถในการสร้างเมือกของแฮกฟิชเอง ก็จะไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งจะวิวัฒนาการขึ้นมาในภายหลังเช่นกัน
เพราะในฟอสซิลชิ้นนี้เอง นักวิทยาศาสตร์ก็พบร่องรอยของสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของเมือกที่แฮกฟิชใช้ แถมยังมีร่องรอยของต่อมผลิตเมือกให้เห็นทั่วตัวของมันอีกด้วย
อาจจะกล่าวได้ว่าเมือกของแฮกฟิชมีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้ปลาสายพันธุ์นี้ไม่จำเป็นต้องวิวัฒนาการระบบป้องกันตัวอื่นๆ เพิ่มเติมตลอดช่วงเวลา 100 ล้านปีที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้
สำหรับแฮกฟิชในปัจจุบัน มันสามารถปล่อยเมือกออกไปได้ไกลกว่าขนาดตัวจริงๆ ของมันถึง 10,000 เท่า แถมเมือกเหล่านี้ยังลื่นมากแม้บนบก จนเคยมีข่าวรถจักรยานยนต์เสียหลักล้มเพราะเมือกของมันมาแล้ว
การที่แฮกฟิชแทบไม่เปลี่ยนไปเลยจากเมื่อ 100 ล้านปีก่อน ทำให้วิทยาศาสตร์ตั้งข้อสันนิษฐานว่าปลาสายพันธุ์นี้น่าจะมีความเก่าแก่กว่าสัตว์น้ำจำพวกปลาประเภทอื่นๆ
และในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ก็วางแผนที่จะทำการศึกษาเรื่องราวของแฮกฟิชต่อไป เพื่อหาว่าอะไรกันเป็นสาเหตุให้แฮกฟิชมีการวิวัฒนาการที่ต่างออกไปจากบรรพบุรุษของมีกระดูกสันหลัง และตั้งแต่เมื่อไหร่กันที่มันเริ่มมีการวิวัฒนาการเมือกอันเป็นเอกลักษณ์ของมันขึ้นมา
ที่มา livescience, theguardian
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.