นักวิทย์บอก “การชนครั้งใหญ่” ในอดีต อาจช่วยให้โลกมีสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่แค่ทำให้เกิดดวงจันทร์

เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง “ทฤษฎีการชนครั้งใหญ่” กันมาบ้าง โดยนี่เป็นทฤษฎีที่ว่าในอดีตเมื่อหลายพันล้านปีก่อน โลกของเราเคยชนกับดาวอีกดวงที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวอังคารและทำให้เกิดดวงจันทร์ขึ้น (บางคนก็เรียกดาวนี้ว่า “Theia” )

 

 

แต่เชื่อกันหรือไม่ว่าเมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาบอกว่ามีความเป็นไปได้ที่ทฤษฎีการชนครั้งใหญ่จะไม่ได้ให้กำเนิดเพียงดวงจันทร์เท่านั้น แต่ยังเป็นที่มาของสิ่งมีชีวิตบนโลกด้วย

คงต้องบอกไว้ก่อนว่าสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดบนโลกนั้นมีส่วนประกอบสำคัญคือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน ซึ่งหากขนาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป การที่สิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้นได้อย่างปัจจุบันก็จะเป็นเรื่องที่เป็นไปแทบจะไม่ได้เลย

ปัญหาคือจากงานวิจัยของทางมหาวิทยาลัยไรซ์ ในรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา พวกเขากลับพบว่ามีความเป็นไปได้ ที่โลกในสมัยก่อนจะมีคาร์บอน กำมะถัน และไนโตรเจนในปริมาณที่ต่ำมาก จนถึงไม่มีเลย โดยอ้างอิงจากการที่สารดังกล่าวไม่มีอยู่ในแกนโลก

 

 

ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงว่าในระหว่างที่การเวลาผ่านไปโลกจะต้องได้รับคาร์บอน กำมะถัน และไนโตรเจนมาจากที่ไหนสักแห่งหนึ่ง อย่างอุกกาบาตจากนอกโลก หรือไม่ก็ชนครั้งใหญ่ในกรณีที่ในอดีตมันเคยเกิดขึ้นจริงๆ

โดยในงานวิจัยของพวกเขาทีมวิจัยได้อ้างถึงความเป็นไปได้ที่ว่าดาวเคราะห์ที่มาชนกับโลกนั้นน่าจะมีองค์ประกอบหลักของแกนดาวเป็นโลหะที่มีกำมะถันในปริมาณที่สูง ดังนั้นในตอนที่มันชนกับโลกและสร้างดวงจันทร์มันจึงทิ้งสารประกอบสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิต เอาไว้บนโลกไปด้วยนั่นเอง

 

 

 

อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับทฤษฎีการชนครั้งใหญ่ที่ถูกอ้างถึงในการทดลอง ทฤษฎีชิ้นนี้เองก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีการพิสูจน์และหาหลักฐานกันในหมู่นักดาราศาสตร์ต่อไป

 

ที่มา foxnewssciencedaily และ zmescience

Comments

Leave a Reply