งานวิจัยชิ้นใหม่ชี้ ‘การสูบบุหรี่ไฟฟ้า’ ก็มีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในสมอง

ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าจริงๆ แล้ว ‘การสูบบุหรี่บุหรี่ไฟฟ้า’ มีผลเสียต่อร่างกายของมนุษย์ อย่างไรบ้าง อันตรายกว่าบุหรี่จริงหรือไม่? อย่างไร? และมันสามารถช่วยให้ ‘เลิกบุหรี่จริง’ ได้จริงไหม?

สำหรับวันนี้ #เหมียวฝึกหัดหมายเลข24 ก็มีงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ศึกษาเกี่ยวกับความอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าจากต่างประเทศมาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ จะเป็นอย่างไรลองไปรับชมพร้อมๆ กันได้เลย…

 

 

งานวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานของ American Heart Association ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้แจกแบบสอบถามให้กับผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ากว่า 400,000 คน

จากจำนวน 400,000 คน มี 66,795 คนที่เป็นคนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำ และในกลุ่มคนเหล่านี้จำนวน 40% มีโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจ, อีก 71% เสี่ยงเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ, ส่วนอีก 60% อาจเกิดโรคหัวใจวาย

นอกจากนี้จากการศึกษายังพบอีกว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีความเชื่อมโยงกับ ‘การสร้างลิ่มเลือด’ ในร่างกายของเรา จึงเป็นที่มาของความเสี่ยงของกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด

แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในงานวิจัยระบุว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายก็จริง แต่ก็ยังมีความอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่จริงถึง 95%

 

 

Dr Larry Goldstein ผู้บริหารแผนกด้านประสาทวิทยา จากสถาบันประสาทวิทยาในเคนทักกีได้กล่าวว่า

“เป็นที่แน่นอนแล้วว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีความเกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างแท้จริง และในอนาคตอันใกล้นี้ จะทำให้ผู้คนจำนวนมากป่วยเป็นโรคเหล่านี้อย่างแน่นอน หากว่ามันยังคงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่วัยรุ่นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ”

“นี่ถือเป็นข้อมูล ‘ที่เป็นจริง’ ชิ้นแรก ที่เราสามารถนำมาใช่ยืนยันได้ว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีผลต่ออาการเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด”

“แต่อย่างไรก็ตาม ในแง่ที่กว้างขึ้นกว่านี้ จากข้อมูลที่เรามีอยู่นั้นไม่สามารถสรุปอย่างแน่ชัดได้ว่ามันเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน เพราะในหลายๆ ประเทศก็อาจจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้”

 

 

ที่มา : dailymail, heart, usnews, ladbible

Comments

Leave a Reply