นักวิทยาศาสตร์เผย สนามพลังแม่เหล็กโลกกำลังมีอาการแปลกๆ และยังไม่ทราบว่าเพราะอะไร

เป็นเรื่องที่ทราบกันว่าสนามพลังแม่เหล็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญกับโลกมาก เพราะมันช่วยป้องกันโลกจากลมสุริยะและรังสีคอสมิก และหากโลกไม่มีสนามพลังแม่เหล็กมนุษย์เราก็อาจจะสูญพันธุ์ไปได้ในเวลาสั้นๆ เลย

อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้นักธรณีวิทยาจากหลากหลายมหาวิทยาลัยกลับออกมาบอกว่า สนามพลังแม่เหล็กที่คอยปกป้องเรามาตลอดนั้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลับกำลังมีสภาพที่แปลกไป

 

 

กล่าวคือในเวลานี้ ขั้วแม่เหล็กโลกกำลังเดินเคลื่อนที่จากแถบอาร์กติกของแคนาดา ไปสู่ไซบีเรียของรัสเซียด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลก

จริงอยู่กว่าการที่ขั้วแม่เหล็กเคลื่อนที่จะไม่ใช่เรื่องที่แปลกมากนัก เพราะในเอกสารที่เก็บมาตั้งแต่ปี 1580 เองก็มีการบันทึกไว้ว่าขั้วแม่เหล็กโลกจะค่อยๆ เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ในระยะเวลาเวลาหลายศตวรรษ

อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ในครั้งนี้กลับเกิดขึ้นเร็วมากขึ้นจากปีละ 15 กิโลเมตร ไปเป็นปีละ 55 กิโลเมตร แถมยังมีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นอีก

 

 

นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดโบลเดอบอกว่า เหตุผลหลักๆ ที่ขั้วแม่เหล็กเคลื่อนที่เร็วขึ้นน่าจะมาจากการที่แกนโลกด้านนอกที่เป็นเหล็กเหลวสร้างสนามพลังแม่เหล็กน้อยลงจากที่ควรเป็น ทำให้ขั้วแม่เหล็กเกิดการเคลื่อนที่เร็วขึ้น

อย่างไรก็ตามเหตุผลที่ว่าทำไมสนามพลังแม่เหล็กที่สร้างขึ้น (โดยเฉพาะที่ใต้แคนาดา) จึงได้ลดลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ยังคงเป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ไขกันไม่ได้ในปัจจุบัน

แถมการที่สนามพลังแม่เหล็กมีภาพที่อ่อนแอลงเช่นนี้ยังเป็นสัญญาณที่บอกว่า สนามพลังแม่เหล็กของโลกอาจจะเกิดการสลับด้านในอนาคต (อีกหลายแสนปี) อีกครั้ง เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อราวๆ 780,000 ปีก่อนเลยด้วย

 

 

จริงอยู่ว่าการสลับด้านของสนามพลังแม่เหล็กจะเป็นเรื่องของอนาคตอันห่างไกลก็ตาม แต่การที่แกนโลกเคลื่อนที่เร็วขึ้นก็ส่งผลกระทบโดยตรงกับ ระบบหลายๆ อย่างที่อ้างอิงดาวเทียมและสนามพลังแม่เหล็กของโลก (อย่างระบบนำทางของเรือหรือ Google Map)

ดังนั้นในปัจจุบันเหล่านักวิทยาศาสตร์จึงได้พยายามเป็นอย่างมากในการหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของสนามพลังแม่เหล็กนี้ และจะมีการหาทางรับมือกับผลกระทบต่อระบบนำทางอื่นๆ ของโลกไปพร้อมๆ กันด้วย

 

ที่มา naturespace และ iflscience


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply