ไม่ว่าในสายการงานอาชีพใดๆ ก็ตาม หากทำงานติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง จะกลายมาเป็นผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
https://www.instagram.com/p/BKA8BvLD-jB/
ในข้อจำกัดของบางสายอาชีพ กลับมีเงื่อนไขที่บีบบังคับคนทำงานให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นศัลยแพทย์ Dr. Yumiko Kadota วัย 31 ปี จากเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ที่กลายมาเป็นผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวนานถึง 6 สัปดาห์ จากการทำงานติดต่อกันอย่างหนัก
เธอบอกเล่าประสบการณ์ของตัวเองผ่านบล็อคส่วนตัว กล่าวย้อนไปถึงความทรงจำอันเลวร้ายเมื่อเข้าทำงานในโรงพยาบาล Bankstown-Lidcombe Hospital ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2018 อันเป็น ช่วงการทำงานที่เลวร้ายที่สุดในชีวิตของเธอ
เธอได้รับมอบหมายให้เข้ากะปฏิบัติหน้าที่ในห้วง 180 ชั่วโมง (7.5 วัน) ไม่มีเวลานอนหลับพักผ่อนเต็มอิ่ม ไม่ได้ออกกำลังกาย และไม่ได้ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
เตียงคนไข้เปรียบเหมือนเตียงนอนชั่วคราว
“การเข้ากะแบบสองสัปดาห์นั้น มันจะเป็นประมาณนี้ ฉันได้รับแจ้งให้เข้างานตั้งแต่เช้าวันจันทร์ เวลา 7.30 น. ยาวไปจนถึงวันจันทร์สัปดาห์หน้า เวลา 16.00 น. ตีเป็น 180 ชั่วโมงต่อเนื่อง นั่นหมายความว่าในช่วงเวลาใดก็ตามใน 180 ชั่วโมงนี้ ฉันจะถูกโรงพยาบาลเรียกตัวได้ตลอดเวลา
“สัปดาห์แรก ฉันได้รับสายทุกคืนจนถึงเวลาเที่ยงคืน บางครั้งก็มาช่วงตีสาม พอเข้าสู่ช่วงกลางคืนวันจันทร์ออกกะ ฉันจะได้นอนหลับไร้การรบกวนเป็นเวลา 1 คืน
และจะปฏิบัติหน้าที่อีกครั้งในเช้าวันถัดมาจนถึงวันศุกร์บ่าย เป็นอีกชุด 80 ชั่วโมงที่ต้องทำงาน พอหมดแล้วจะได้หยุด 2 วัน จากนั้นก็จะเริ่มวงเวียนเดิมอีกครั้ง”
https://www.instagram.com/p/BUkgJz_luts/
ทว่าระเบียบการทำงานแบบนี้ ทำให้รู้สึกว่าไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ และดูเหมือนไม่สิ้นสุดเสียที แม้จะมีเวลานอนหลับแบบไร้การรบกวนในกรอบ 4 ชั่วโมง แต่ก็ไม่สามารถการันตีอะไรได้
โดยในช่วง 120 ถึง 140 ชั่วโมง เวลากลางคืนมักจะเป็นเวลาที่งานตามมาถึงที่บ้าน บางครั้งเธอก็ได้รับโทรศัพท์ให้ไปเข้างาน ไม่ว่าจะตอนกำลังจอดรถเข้าบ้าน อาบน้ำ ทานอาหาร หรือแม้แต่ช่วงกำลังจะผลอยหลับ
เมื่อเป็นเช่นนี้ สภาพจิตจึงไม่ได้รับการพักผ่อนและเริ่มสั่งสมเป็นปัญหา เธอไม่มีเวลาไปออกกำลังกาย ไม่สามารถวางแผนใช้ชีวิตตามปกติได้ และต้องคอยอยู่สแตนด์บายรองานอยู่ตลอด
https://www.instagram.com/p/BUe3sShlwwr/
เมื่อสิ้นสุดเดือนแรกของการทำงาน เธอบันทึกชั่วโมงทำงานล่วงเวลาได้ร่วม 100 ชั่วโมง แต่ตารางงานอันโหดร้ายยังคงดำเนินต่อไป แม้จะเคยร้องขอให้ทางโรงพยาบาลจัดตารางงานใหม่แล้วก็ตาม จนมันเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย
“ในช่วงเมษายน ฉันเริ่มรู้สึกว่าสุขภาพกายย่ำแย่ ผสมกับความเครียด อาการขาดน้ำ โภชนาการต่ำ และปัญหาการอดหลับอดนอน ช่วงหนึ่งที่ฉันถูกโทรเรียกตัวตอนตี 3 เมื่อฉันบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรโทรปลุกกันตอนตี 3 แบบนี้
เพราะมันไม่ใช่เคสด่วน แต่กลับกลายเป็นว่าแพทย์ชายคนนั้นบอกว่า ‘หยุดทำตัวเป็นผู้หญิงเจ้าอารมณ์เสียที’ ยิ่งทำให้รู้สึกแย่และหงุดหงิด พยายามข่มตานอนแต่ทำไม่ได้”
https://www.instagram.com/p/BRtupGVlrSi/
จากที่เคยเป็นนักวิ่งมาราธอน ดูแลสุขภาพอาหารการกิน เธอเริ่มมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ เพราะต้องทานอาหารขยะเพื่อเร่งทำงานต่อ จนในที่สุดต้องจำใจลาออก
เนื่องจากไม่สบายทั้งกายและใจ แม้จะเอาตัวรอดมาได้ แต่กลายเป็นคนไร้วิญญาณแทน ซึ่งเป็นการตัดสินใจออกที่เสี่ยงต่อการถูกขึ้นบัญชีดำในสายงานศัลยแพทย์ด้วย
https://www.instagram.com/p/BFTmCfCvKeF/
ภายหลังจากลาออกจากการเป็นศัลยแพทย์ ก็ผันตัวมาเล่นโยคะและกลายมาเป็นครูฝึกสอนโยคะ แต่ทว่าผลข้างเคียงจากงานเก่ายังคงอยู่ และทำให้เธอต้องกลายมาเป็นผู้ป่วยอาการทางจิต เข้าพักรักษาตัวเป็นเวลา 6 สัปดาห์
“สิ่งที่ยังคงส่งผลกระทบกับฉันทุกคืน คือการที่ต้องตื่นมาทุกๆ 2 ชั่วโมง สมองของฉันยังคิดว่าต้องตื่นมารับโทรศัพท์อยู่ตลอด แม้จะไม่มีเรื่องเครียดอะไรแล้วก็ตาม แต่ฉันต้องตื่น พร้อมกับหัวสมองอันโล่งเปล่า พยายามจะข่มตานอนหลับ แต่ก็ทำไม่ได้”
https://www.instagram.com/p/Bsq8AdAn30g/
จนในช่วงเดือนตุลาคม 2018 เธอยอมแพ้และรับสภาพของตัวเอง เข้าพักรักษาตัวจากอาการนอนไม่หลับ และภาวะผิดปกติทางจิตใจ จากตอนแรกที่คาดว่าต้องพัก 3 สัปดาห์ กลับกลายเป็นต้องยืดไปถึง 6 สัปดาห์
https://www.instagram.com/p/BrIrranHZ3q/
ปัจจุบันนี้ เธอยังคงพักรักษาตัวจนเพื่อให้สุขภาพกายและใจดีขึ้น และหวังว่าจะได้กลับไปทำงานด้านศัลยแพทย์ เมื่อรู้สึกพร้อมอีกครั้ง
ที่มา: mindbodymiko, nextshark, worldofbuzz
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.