นักชีววิทยาพบผึ้งยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกครั้ง หลังเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 1981

ไม่แน่ว่าปี 2019 อาจจะเป็นทองของการค้นพบทางชีววิทยาเลยก็เป็นได้ เพราะแม้ว่าจะเริ่มต้นปีมาได้เพียงสองเดือนมนุษย์เราก็พบว่าจริงๆ แล้ว สัตว์ที่เราเชื่อว่าสูญพันธุ์นั้น แท้จริงแล้วยังมีชีวิตอยู่ถึงสองชนิด

โดยไม่นานมานี้เองชีววิทยาก็เพิ่งจะมีการค้นพบเต่ายักษ์เฟอร์นาดินาบนหมู่เกาะกาลาปาโกส ที่เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 1906 มาแบบสดๆ ร้อน (อ่านข่าวนี้ได้ที่ พบเต่ายักษ์เฟอร์นาดินาบนหมู่เกาะกาลาปาโกส หลังเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 1906)

แต่แล้วเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง เหล่านักชีววิทยาของก็ได้ออกมาประกาศการค้นพบผึ้งยักษ์ที่เชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 1981 อีกครั้ง ภายในป่าใหญ่ของประเทศอินโดนีเซีย

 

 

นี่เป็นผึ้งยักษ์ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Megachile Pluto ผึ้งยักษ์ที่มีขนาดตัวใหญ่กว่าผึ้งทั่วไปถึง 4 เท่า โดยตัวที่มีการค้นพบนั้นมีความยาวถึง 3.5 ซ.ม. และความกว้างปีกถึง 6.4 ซ.ม. เรียกได้ว่าเป็นผึ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกเลยก็ไม่ผิดนัก

ผึ้งดังกล่าวถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ Alfred Russel Wallace ในปี 1858 ก่อนที่จะหายไปอย่างไร้ร่องรอยในปี 1981 และถูกพบอีกครั้งโดยทีมนักชีววิทยาชาวอเมริกาและออสเตรเลียในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ข่าวการค้นพบในครั้งนั้นทำให้ช่างภาพนามว่า Clay Bolt รู้สึกสนใจมาก เขาจึงได้นำทีมออกไปสำรวจป่า เพื่อตามถ่ายภาพผึ้งยักษ์ตัวนี้ให้ประชาชนได้มีโอกาสชมกัน

 

 

อย่างที่เห็นว่าจุดเด่นของผึ้งตัวนี้ไม่ได้อยู่แค่ที่ขนาดตัวของมันเท่านั้น แต่มันยังมีส่วนหัวที่คล้ายกับด้วงกว่าง สร้างความอัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็นมาก แถมจากคำบอกเล่าของ Clay Bolt ผึ้งที่พบนี้ยังมีความดุร้ายที่ค่อนข้างต่ำ ต่างไปจากต่อยักษ์ญี่ปุ่นที่มีขนาดใกล้เคียงกัน

จากคำบอกเล่าของทีมงาน พวกเขาพบผึ้งตัวนี้ในจอมปลวกบนต้นไม้ และจับมันมาตรวจสอบเล็กๆ น้อยๆ ก่อนที่จะจะปล่อยมันกลับสู่ธรรมชาติ

 

 

น่าเสียดายที่ในปัจจุบันป่าของภูมิภาคนี้จะยังไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้าขายผึ้งมากนัก แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามทีมของ Clay Bolt ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าผึ้ง Megachile Pluto มีโอกาสที่จะกลับมีจำนวนมากเหมือนในอดีตอีกครั้ง หากผืนป่าไม่ถูกทำลายไปในอนาคต

 

ที่มา cnnlivesciencetheguardianallthatsinteresting และ bbc

Comments

Leave a Reply