เคยได้ยินเรื่องราวของชนเผ่า “Darkhad” กันมาก่อนไหม พวกเขาคือหนึ่งในชนเผ่าย่อยที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศมองโกเลีย เชื่อว่าตัวเองเป็นลูกหลานของ Bo’orchu และ Muqali ของแม่ทัพที่ได้รับหน้าที่อันทรงเกียรติอย่างการปกป้องสุสานของเจงกิสข่านตั้งแต่ในปี 1227
ผู้คนในเผ่านี้ในอดีตมักถูกพบปักหลักปกป้องพื้นที่หุบเขา Darkhad ในจังหวัด Khövsgöl ของมองโกเลียมา และเชื่อกันว่าพวกเขาอยู่ที่นั่นมาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ
คำว่า Darkhad ในภาษามองโกเลียแปลว่า ผู้ที่ไม่สามารถจับต้องได้ และผู้ถูกปกป้อง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เผ่านี้จะดูปลีกตัวออกจากสังคม และนอกจากจะปกป้องพื้นที่ที่เป็นสุสานของเจงกิสข่านแล้ว คนเหล่านี้ยังรับหน้าที่ดูแลรักษาวัตถุโบราณที่สืบทอดกันมาแต่อดีตด้วย
หน้าที่เหล่านี้เองทำให้เผ่านี้ยังคงใช้ชีวิตหลักจารีตประเพณีดั้งเดิมอยู่ พวกเขาอาศัยใน “Gers” ที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะคล้ายกระโจม และยังคงใช้ชีวิตด้วยการเลี้ยงปศุสัตว์
ในอดีตวัตถุโบราณของเจงกิสข่าน จะถูกเก็บไว้ในกระโจม 8 แห่งของชนเผ่า โดยหนึ่งในสิ่งของเหล่านี้คือ “Suledu” อาวุธรูปร่างคล้ายสามง่าม ที่ถูกเชื่อโดยคนในเผ่าว่าถูกประทานมาให้เจงกิสข่าน จากทวยเทพ โดยแลกกับการบูชายัญม้า 1,000 ตัว และ แกะอีก 10,000 ตัว
แน่นอนว่าชาว Darkhad นั้นเคารพวัตถุโบราณเหล่านี้มากกว่าเพียงสิ่งของธรรมดามา และพวกเขาเองก็เชื่อว่าในวัตถุโบราณเหล่านี้นั้น มีวิญญาณของเจงกิสข่านสิงอยู่ภายในด้วย
จริงอยู่ว่าที่อยู่จริงๆ ของสุสานของเจงกิสข่านจะหายในไปประวัติศาสตร์แล้ว แถมคนในเผ่ายังไม่ได้อุทิศชีวิตปกป้องสุสานเจงกิสข่านกันทุกคนอีกต่อไป และวัตถุโบราณที่พวกเขามีก็ถูกนำไปเก็บไว้ในสุสานจำลองที่เมือง Ordos ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (ที่จีน) แล้ว
แต่ในปัจจุบันคนในเผ่านี้เองก็ยังคงตามดูแลสุสานจำลองของเจงกิสข่านและวัตถุโบราณที่อยู่ในนั้น (ไปแค่คนที่มีหน้าที่ดูแลสุสานเท่านั้น) แม้สุสานดังกล่าวจะเพิ่งสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 20 ก็ตามที
ที่มา ancient-origins
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.