นักโบราณคดีพบ อุปกรณ์สักที่ทำจากหนามต้นกระบองเพชร คาดเก่าแก่ที่สุดในอเมริกาเหนือ

เป็นเรื่องที่หลายๆ คนอาจจะทราบกันดีว่าการสักนั้นเป็นวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน และเกิดขึ้นในแทบทุกที่บนโลกไม่ว่าจะเป็นทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชีย หรืออเมริกา

และเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2019 เหล่านักโบราณคดีก็ได้ออกมาทำการเปิดเผยถึงการค้นพบอุปกรณ์สักอันน่าทึ่ง โดยในครั้งนี้อุปกรณ์สักที่พบ นับว่าเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการพบมาในทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือเลยทีเดียว

 

 

นี่เป็นอุปกรณ์สักที่ทำจากหนามของต้นกระบองเพชรพันเข้ากับไม้ ความยาวราวๆ 10 เซนติเมตร ซึ่งถูกค้นพบอยู่ในโรงเก็บของของพิพิธภัณฑ์ในมหาวิทยาลัยรัฐวอชิงตัน และคาดกันว่ามีอายุมากถึง 2,000 ปี

จากการตรวจสอบทางประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์แล้ว ทางผู้เกี่ยวข้องก็พบว่าเข็มดังกล่าวน่าจะเคยถูกใช้โดย กลุ่มบรรพบุรุษชนเผ่าพิวโบล ที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาลไปจนถึงคริสต์ศักราชที่ 500 ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐยูทาห์ และมีการใช้งานในช่วงปี ค.ศ. 79-130

 

 

Andrew Gillreath-Brown นักศึกษาปริญญาเอกสาขามานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยรัฐวอชิงตัน ผู้ค้นพบวัตถุโบราณชิ้นนี้กล่าวว่า การสักของคนในแถบอเมริกาเหนือในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มักจะมีค่อยมีการพูดถึงเท่าไหร่

นั่นเพราะที่ผ่านๆ มาแทบจะไม่มีการค้นพบหลักฐานการสักแบบเป็นชิ้นเป็นอันเลย แถมหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่ของกรสักในอเมริกาเหนือที่ผ่านๆ มายังมาจากช่วง ค.ศ. 1100-1280 ซึ่งนับว่าไม่เก่าแก่เท่าไหร่นัก

 

 

ดังนั้นแม้ว่านี่จะเป็นอุปกรณ์สักที่พบจะไม่ใช่หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของการสักแต่อย่างไร (เพราะมัมมี่ของ “Ötzi” ที่ถูกพบในอิตาลีเองก็มีร่องรอยของการสักอยู่เหมือนกัน แถมมีอายุถึง 5,300 ปี)

แต่การค้นพบในครั้งนี้ก็ยังคงนับว่าเป็นการค้นพบที่จะมอบความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมธรรมอเมริกาเหนือในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี

 

ที่มา livesciencepopularmechanics และ geek

Comments

Leave a Reply