ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลกที่มนุษย์รู้จักมาแต่ช้านาน และยังรอคอยให้มนุษย์โลกค้นหาถึงความลึกลับของมัน
ช่างภาพรายหนึ่งชาวอเมริกาชื่อ Andrew McCarthy ได้ตามถ่ายรูปดวงจันทร์มานาน และไม่นานมานี้เขาได้เผยภาพชุดหนึ่งของพระจันทร์ ที่นำภาพพระจันทร์กว่า 50,000 รูปมารวมกันเป็นภาพเดียว จนได้ภาพที่มีความละเอียดสูง
ข่าวเก่า: ตากล้องถ่ายรูปพระจันทร์ 50,000 รูป รวมเป็นภาพเดียว ในความละเอียด 81 ล้านพิกเซล
วันนี้เราจะมานำเสนอรูปภาพเซ็ตใหม่ของ Andrew ที่เขาได้พยายามหาสีที่แท้จริงของดวงจันทร์ จากการนำภาพถ่ายของดวงจันทร์กว่า 150,000 รูปมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน และปรับสีโดยใช้โปรแกรมแต่งรูป
Andrew เรียกภาพนี้ว่า “Moonstrosity”
https://www.instagram.com/p/BuTw-C-hNHO/
Andrew กล่าวถึงภาพเซ็ตนี้ไว้ว่า “สีที่เห็นนั้นมันอยู่ในรูป แต่ถูกบดบังโดยแสงสะท้อนจากพระจันทร์ที่เปล่งออกมา และสีในดวงจันทร์นั้นก็แสดงให้เห็นถึงแร่ธาตุต่างๆ ของพระจันทร์”
“จะเห็นได้ว่ารูปเกี่ยวกับพระจันทร์ในภาพเซ็ตเก่าของผมนั้น แสดงถึงรายละเอียดของดวงจันทร์ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ภาพเซ็ตนี้ชี้ให้เห็นว่า สีของดวงจันทร์ที่แท้จริงนั้นจะออกมาเป็นแบบไหน”
“สีฟ้าแสดงให้เห็นถึงแร่ธาตุไทเทเนียมที่มีสูงมาก และสีส้มแสดงถึงหินภูเขาไฟที่มีแร่ไทเทเนียมต่ำ”
Andrew ยังเล่ารายละเอียดถึงขั้นตอนการหาสีที่แท้จริงของดวงจันทร์ จากรูปภาพของเขาไว้ว่า “ผมถ่ายรูปดวงจันทร์ไว้หลายรูปมากจนภาพที่ได้นั้นไม่ชัดเจน เนื่องจากความปั่นป่วนทางชั้นบรรยากาศ”
“พร้อมๆ กับป้องกันเพื่อไม่ให้มีสัญญาณรบกวนในภาพ (Noise) มากเกินไป จนได้สีที่ได้จากดวงจันทร์นั้นมีค่าความถูกต้องแม่นยำสูงอย่างไม่น่าเชื่อ”
“นั่นทำให้ผมสามารถปรับค่าจุดอิ่มตัว และค่าความแตกต่างของสีในภาพจนเกิดภาพดวงจันทร์อย่างที่เห็นออกมา”
รับชมภาพดวงจันทร์ความละเอียดสูงได้ที่นี่
ซึ่งอุปกรณ์ที่ Andrew ใช่ถ่ายภาพเซ็ตนี้นั้นประกอบไปด้วยกล้องโทรทรรศน์ Orion XT10, ขาตั้งกล้องโทรทรรศน์ Skywatcher EQ6-R Pro ควบคู่กับกล้อง ZWO ASI 224MC (เซนเซอร์ CCD) และสุดท้ายคือกล้อง Sony a7 II (กล้อง Mirrorless)
โดยภาพที่นำมาใช้ประกอบไปด้วย ภาพถ่ายดวงจันทร์จากกล้อง ZWO ASI 224MC จำนวน 142,000 รูป ภาพถ่ายจากกล้อง Sony a7 II อีก 2,000 รูป ส่วนภาพที่เหลือถ่ายโดยเลนส์ระยะ 300 mm
คลิปวิดีโอที่เผยให้เห็นสีที่แท้จริงของดวงจันทร์
https://www.instagram.com/p/BuhneAFBWz4/
ต่อมาเขานำรูปทั้งหมดมาซ้อนกันโดยใช้โปรแกรม AutoStakkert และ Photoshop ตามลำดับ โดยปรับค่าสีไปถึงระดับ 11 และแก้ไขภาพถึง 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ ปรับค่าความอิ่มตัวของสี (Saturation), ค่าคอนทราสต์ (Contrast) และค่าความคมชัด (Sharpening)
https://www.instagram.com/p/BujWH4Hhb7L/
“ส่วนใหญ่ผมก็ปรับค่าต่างๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าผมจะได้ภาพที่พอใจ” เขากล่าว
ทั้งนี้ สามารถติดตามผลงานท้องฟ้าผ่านสายตาของ Andrew McCarthy เพิ่มเติมได้ทางอินสตาแกรมของเขา @cosmic_background แล้วทุกคนอาจได้เห็นความลับของจักรวาลเพิ่มเติมโดยที่เราอาจไม่รู้มาก่อน
ที่มา: Petapixel, mymodernmet, @cosmic_background, Reddit
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.